ตัวอย่างข้อสอบ วิชา สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หรือ นักเรียน ป.6 ที่ต้องการสอบเข้า ม.1 พร้อมเฉลยท้ายข้อสอบ
- ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีผลต่อพัฒนาการของวัยรุ่นอย่างไร
ก. ไม่มีผลใดๆ ต่อร่างกาย
ข. เกิดพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
ค. ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
ง. ควบคุมภาวะสมดุลภายในร่างกาย
2. ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. สมอง เซรีเบลลัม
ข. ไขสันหลัง เส้นประสาท
ค. เซรีบรัม พอนส์
ง. สมอง ไขสันหลัง
3. ระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ทำหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ก. แตกต่างกัน เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย
ข. แตกต่างกัน เพื่อไม่ให้แย่งกันปฏิบัติหน้าที่
ค. เหมือนกัน เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป
ง. เหมือนกัน เพื่อพัฒนาการเจริญเติบโต
4. นักเรียนมีวิธีการดูแลรักษาระบบต่อมไร้ท่อให้ทำงานปกติได้อย่างไร
ก. สำรวจการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น
ข. ออกกำลังกายอย่างหนัก
ค. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
ง.ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
5. ข้อใดไม่ใช่วิธีการดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานตามปกติ
ก. หมั่นตรวจสมรรถภาพการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น
ข. ไปพบแพทย์
ค. ออกกำลังกายให้มากขึ้น
ง. รับประทานผัก และผลไม้ที่มีวิตามินในการบำรุงสายตาให้มาก
6. เพราะเหตุใดจึงต้องมีเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต
ก. เพื่อให้ทราบถึงน้ำหนักและส่วนสูงของตนเอง
ข. เพื่อตรวจสอบภาวะการเจริญเติบโตให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน
ค. เพื่อทดสอบสมรรถภาพการเจริญเติบโตของตนเอง
ง. เพื่อปรับปรุงน้ำหนัก ส่วนสูงของตนเองให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
7. วัยรุ่นชายอายุ 13 ปี ควรมีน้ำหนักระหว่างเท่าใด
ก. 28.1 – 50.0 กิโลกรัม
ข. 31.6 – 54.6 กิโลกรัม
ค. 35.6 – 58.7 กิโลกรัม
ง. 40.1 – 61.9 กิโลกรัม
8. กัลยกรสูง 161 เซนติเมตร หนัก 51 กิโลกรัม จากการประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง โดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ในการประเมิน กัลยกรมีน้ำหนักตัวอยู่ในระดับใด
ก. ปกติ
ข. ผอม
ค. อ้วน
ง. อันตราย
9. ข้อใดกล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัยไม่ถูกต้อง
ก. รับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบ 3 มื้อ
ข. ดื่มนมเป็นประจำวันละ 1-2 แก้ว
ค. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ง. นอนหลับพักผ่อนวันละ 5 ชั่วโมง
10. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย
ก. เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ข. เพื่อการยอมรับและเข้าใจในตนเอง
ค. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในแต่ละวัยให้เหมาะสม
ง. เพื่อสร้างภาวะผู้นำ
11. เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. วัยรุ่นชายจะมีรูปร่างที่โตกว่าวัยรุ่นหญิง
ข. ร่างกายเจริญเติบโตอย่างช้าๆ
ค. ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ง. ขนาด และสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงไป
12. การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นหญิงในข้อใดที่บ่งบอกถึงความพร้อมต่อภาวะการตั้งครรภ์
ก. ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
ข. หน้าอกขยายโตขึ้น
ค. การมีประจำเดือน
ง. สะโพกขยายใหญ่ขึ้น
13. เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น พัฒนาการทางเพศที่เปลี่ยนไปจากวัยเด็กโดยสิ้นเชิง คือข้อใด
ก. อวัยวะเพศ
ข. ขนาด สัดส่วนของร่างกาย
ค. เสียงเปลี่ยน
ง. มีกลิ่นตัว
14. วัยรุ่นควรยอมรับและปรับตัวอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์
ก. พยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง
ข. งดอาหารเพื่อให้มีรูปร่างที่สมส่วน
ค. ปรึกษาครูประจำชั้น
ง. ควบคุมอารมณ์ของตนเอง
15. ข้อใดไม่ใช่ข้อปฏิบัติต่อการยอมรับและปรับตัวต่อการพัฒนาการทางเพศ
ก. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ
ข. วางตัวปกติให้เป็นธรรมชาติ
ค. รู้จักทักษะในการแก้ปัญหาทางเพศ
ง. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ
16. การพูดจาลามก ถือเป็นลักษณะพฤติกรรมของการเบี่ยงเบนทางเพศหรือไม่
ก. เป็น เพราะเป็นความแปรปรวนในเอกลักษณ์ทางเพศของตน
ข. เป็น เพราะเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนในการปฏิบัติทางเพศ
ค. ไม่เป็น เพราะถือเป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติกัน
ง. ไม่เป็น เพราะถือเป็นความสุขที่ไม่ได้ปฏิบัติทางการกระทำ
17. พฤติกรรมใดที่จัดว่าเป็นการคุกคามทางเพศที่เป็นวาจา
ก. เบียดเสียด ถูไถ
ข. การทำอนาจารเด็ก
ค. เซ็กส์โฟน
ง. ซาดิสม์
18. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ก. การไม่รักนวลสงวนตัว
ข. การถูกกระตุ้นจากสื่อต่างๆ
ค. การคบเพื่อนเยอะเกินไป
ง. สถานที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม
19. ข้อใดเป็นการเตรียมความพร้อมในการเดินทางเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศเมื่อจำเป็นเดินทางด้วยรถรับจ้าง หรือรถแท็กซี่
ก. ไม่พูดคุยกับคนขับ หรือบอกว่าจะเดินทางไปไหน
ข. ไม่นั่งหลังรถแท็กซี่เพื่อสังเกตดูพฤติกรรมของคนขับได้ถนัดตา
ค. เตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนเส้นทางได้เสมอเมื่อตกอยู่ในภาวะคับขัน
ง. สังเกต ชนิดลักษณะ เลขทะเบียนรถ ชื่อ นามสกุลคนขับที่ติดในรถ
20. เมื่อนักเรียนถูกคนร้ายลวนลาม หรือทำร้ายร่างกาย นักเรียนจะมีเทคนิคในการปฏิบัติอย่างไรเพื่อป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ก. วิ่งหนีให้เร็วที่สุดโดยไม่สนใจอะไร
ข. ตั้งสติ แล้วป้องกันตัวโดยใช้เท้าถีบไปที่บริเวณหน้าแข้งคนร้าย
ค. ร้องเรียกให้คนช่วยให้ดังที่สุด
ง. พูดจาไพเราะ อ่อนหวานเพื่อเกลี้ยกล่อมให้คนร้ายยอมใจอ่อน
21. องค์ประกอบของทักษะกลไกใดที่เป็นความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากกว่า 1 กลไกในเวลาเดียวกัน
ก. ความอ่อนตัว
ข. ความทนทาน
ค. การทรงตัว
ง. การประสานสัมพันธ์
22. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. การเคลื่อนไหว หมายถึงความชำนาญในการทำงานเฉพาะอย่างทางกลไกร่างกาย
ข. การทรงตัว เป็นความสามารถในการควบคุมร่างกายขณะเคลื่อนไหว
ค. การทรงตัวในขณะเคลื่อนที่เป็นการรักษาความสมดุลของร่างกายในขณะเคลื่อนที่
ง. ทักษะกลไก หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งที่ต่อเนื่องของอวัยวะ
23. ในการฝึกความเร็ว จะต้องประกอบด้วยข้อใดต่อไปนี้
ก. เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง
ข. แรงที่ใช้ในการเคลื่อนไหว
ค. พละกำลังในการเคลื่อนที่
ง. ความสามารถของร่างกาย
24. ในการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยของตนเอง เด็กที่อายุ 13 ปี ควรออกกำลังกายประเภทใด
ก. ว่ายน้ำ โยคะ
ข. รำมวยจีน เต้นแอโรบิก
ค. ยกน้ำหนัก วิ่งมาราธอน
ง. กระโดดเชือก กระโดดไกล
25. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินการเล่นกีฬา
ก. เพื่อให้ทราบถึงความสามารถในการเล่นกีฬาของตนเอง
ข. เพื่อให้ทราบว่าตนเองมีความสามารถในการเล่นกีฬาหรือไม่
ค. เพื่อให้สามารถวางแผนการเล่นและเตรียมทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก
26. ในการเล่นกีฬาจะต้องพิจารณาถึงความสามารถและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านใดบ้าง
ก. อารมณ์
ข. จิตใจ
ค. พรสวรรค์
ง. กีฬา
27. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเต้นแอโรบิก
ก. ต้องเริ่มจากเบาไปหาหนัก
ข. ต้องเต้นอย่างสนุกสนาน ร่าเริง
ค. ต้องเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน
ง. ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
28. เพราะเหตุใดในการเต้นแอโรบิกจึงไม่ควรหยุดเต้น ยืนนิ่งๆ หรือนั่งลงทันทีทันใด
ก. เพราะหัวใจยังปรับอัตราการเต้นให้ช้าลงไม่ทัน
ข. เพราะจะทำให้หน้ามืด หายใจเร็วขึ้น
ค. เพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าได้ง่าย
ง. เพราะจะทำให้เหงื่อออกมาก
29. เพราะเหตุใดในการฝึกโยคะจึงควรฝึกก่อนหรือหลังการรับประทานอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง
ก. เพื่อให้เวลาฝึกแล้วไม่เป็นลม
ข. เพราะจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
ค. เพื่อเป็นการปรับสภาพภายในร่างกาย
ง. เพราะถ้าอิ่มหรือหิวเกินไปจะเป็นอุปสรรคค่อการฝึก
30. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ในการรำมวยจีน
ก. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
ข. กระชับสัดส่วนให้ได้รูปทรง
ค. เพิ่มพูนพละกำลังให้ร่างกายแข็งแรง
ง. เสริมสร้างความคิด สติปัญญา
31. ข้อใดกล่าวถึงคุณค่าและประโยชน์ของการเล่นกระบี่ได้ถูกต้อง
ก. ส่งเสริมกายและใจให้มีความแข็งแรง
ข. ช่วยให้มีพละกำลังที่มาก
ค. ฝึกให้เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี
ง. เป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
32. เครื่องแต่งกายในการเล่นกระบี่สมัยปัจจุบันมีลักษณะเป็นอย่างไร
ก. เสื้อมีแขนหรือไม่มีแขน กางเกงขาสั้น สวมถุงเท้า รองเท้า
ข. เสื้อไม่มีแขนลงยันต์ กางเกงขากว้างยาวครึ่งน่อง
ค. เสื้อมีแขนหรือไม่มีแขน นุ่งผ้าโจงกระเบน
ง. เครื่องแต่งกายแบบทหาร
33. ในกติกาการแข่งขันกระบี่ ได้กำหนดไว้ว่ากระบี่จะต้องมีลักษณะอย่างไร
ก. ทำด้วยเหล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 18 มม. ยาว 90 ซม.
ข. ทำด้วยทองเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 18 มม. ยาว 90 ซม.
ค. ทำด้วยหวาย เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 18 มม. ยาว 90 ซม.
ง. ทำด้วยอะลูมิเนียม เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 18 มม. ยาว 90 ซม.
34. การฝึกปฏิบัติการเล่นกระบี่จะเริ่มจากท่าเบื้องต้นท่าใด
ก. การขึ้นพรหมยืน การถวายบังคม การขึ้นพรหมนั่ง
ข. การขึ้นพรหมนั่ง การขึ้นพรหมยืน การถวายบังคม
ค. การขึ้นพรหมยืน การขึ้นพรหมนั่ง การถวายบังคม
ง. การถวายบังคม การขึ้นพรหมนั่ง การขึ้นพรหมยืน
35. เพราะเหตุใดในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสจึงไม่ให้นักกีฬาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวและสีอื่นๆ ที่อ่อนหรือสว่าง
ก. เพราะสีเครื่องแต่งกายจะกลมกลืนกับลูกเทเบิลเทนิส
ข. เพราะสีของเครื่องแต่งกายจะทำให้คู่แข่งขันแสบตา
ค. เพราะสีอ่อนหรือสว่างอาจทำให้ผู้เล่นปวดศีรษะได้
ง. ไม่มีข้อถูก
36. ในกติกาการแข่งขันเทเบิลเทนนิส จะใช้วิธีใดในการกำหนดผู้เล่นทั้งสองฝ่าย
ก. เลือกโดยกรรมการผู้ตัดสิน
ข. เสี่ยงทาย
ค. เลือกโดยคะแนนเสียงจากผู้เข้าชม
ง. เลือกโดยเจ้าภาพผู้จัดงาน
37. ท่าทางการส่งลูกหรือการเสิร์ฟในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสมีอยู่ด้วยกันกี่ลักษณะ
ก. 1 ลักษณะ คือ แบบโยนสูง
ข. 2 ลักษณะ คือ แบบโยนสูง แบบโยนต่ำ
ค. 3 ลักษณะ คือ แบบโยนสูง แบบโยนต่ำ แบบนั่งยองๆ
ง. 4 ลักษณะ คือ แบบโยนสูง แบบโยนต่ำ แบบนั่งยองๆ แบบอิสระ
38. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของนันทนาการ
ก. ความสำคัญต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
ข. ความสำคัญต่อการใช้ชีวิตในสังคม
ค. ความสำคัญต่อการใช้ชีวิตในครอบครัว
ง. ความสำคัญต่อการทำกิจกรรม
39. ตามหลักการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่ต้องสอดคล้องกับวัยที่มีอายุแตกต่างกันนั้น เด็กที่มีอายุ 13 ปี ควรมีหลักการในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างไร
ก. ควรเข้าร่วมกิจกรรมที่ง่ายๆ ไปสู่กิจกรรมที่ยากขึ้น
ข. ควรเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวที่สูงขึ้น
ค. ควรเข้าร่วมกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคล
ง. ควรเข้าร่วมกิจกรรมที่สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล
40. ในการจัดกิจกรรมนันทนาการจะต้องคำนึงถึงข้อใดเป็นสิ่งสำคัญ
ก. กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะต่างๆ
ข. กิจกรรมที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่
ค. กิจกรรมที่พัฒนาอารมณ์ให้มีความสุข
ง. กิจกรรมที่สร้างความสมดุลทางร่างกายและจิตใจ
41. ในแต่ละวันวัยรุ่นควรได้รับโปรตีนวันละประมาณกี่กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ก. 1.2-2.1 กรัม
ข. 1.3-2.2 กรัม
ค. 1.4-2.3 กรัม
ง. 1.5-2.4 กรัม
42. วัยรุ่นควรรับประทานอาหารทะเลและเครื่องในสัตว์อย่างน้อยกี่ครั้งต่อสัปดาห์
ก. 1/1 ครั้ง
ข. 1-2/2 ครั้ง
ค. 2/3 ครั้ง
ง. ทุกวัน
43. พฤติกรรมของบุคคลใดต่อไปนี้ที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้
ก. แพน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาและงดบางมื้อ
ข. เงาะ รับประทานผักผลไม้ทุกมื้อ
ค. จิ๊บ ชอบรับประทานไข่ไก่วันละ 1 ฟอง
ง. เอ็ม ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว ทุกวัน
44. ข้อใดคือภาวะโภชนาการเกิน
ก. โรคขาดสารอาหาร
ข. โรคโลหิตจาง
ค. โรคปากนกกระจอก
ง. โรคอ้วน
45. โรคอ้วนเป็นโรคหนึ่งซึ่งอาจส่งผลให้เป็นโรคใดตามมาได้
ก. โรคตาฟาง
ข. โรคความดันโลหิตสูง
ค. โรคตานขโมย
ง. โรคหอบ
46. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิด ควรรับประทานอาหารประเภทใดเพื่อเป็นการป้องกัน
ก. นม เนย เครื่องในสัตว์
ข. ตับ ไข่แดง น้ำมันตับปลา
ค. ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
ง. นม ถั่ว ข้าวโพด
47. นางสาวแสนดี สูง 161 เซนติเมตร หนัก 52 กิโลกรัม ในการคิดน้ำหนักและส่วนสูงที่สมดุลกัน โดยวิธีเปรียบเทียบน้ำหนักกับส่วนสูง คิดว่า แสนดีมีน้ำหนักอย่างไร
ก. อ้วน
ข. ผอม
ค. ปกติ
ง. อันตราย
48. เพราะเหตุใดแพทย์จึงไม่นิยมแนะนำให้ใช้ยาลดความอ้วนในการลดน้ำหนัก
ก. มีราคาแพง
ข. รับประทานยาก
ค. ลดน้ำหนักมากเกินไป
ง. ก่อให้เกิดผลข้างเคียง
49. ก่อนการทดสอบสมรรถภาพทางกายต้องมีการตรวจสุขภาพทั่วๆ ไปก่อน ทั้งนี้ เพื่อเหตุผลใดทำเพื่อเหตุผลใด
ก. เพื่อตรวจสอบความบกพร่องทางสุขภาพที่อาจทำให้การฝึกไม่ได้ผลหรือไม่
ข. เพื่อปรับปรุงและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
ค. เพื่อจัดลำดับที่สมรรถภาพทางกายของนักเรียน
ง. เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
50. ในด้านการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างและปรับปรุงสมรรถภาพทางกาย นักเรียนควรนอนหลับพักผ่อนวันละกี่ชั่วโมง
ก. 5-6 ชั่วโมง
ข. 6-7 ชั่วโมง
ค. 7-8 ชั่วโมง
ง. 8-10 ชั่วโมง
51. ข้อใดเป็นวิธีการปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม
ก. จับผู้ป่วยยืนตรง แล้วยกมือขึ้น
ข. ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงกว่าศีรษะ
ค. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดใบหน้า ลำคอ มือ และเท้า
ง. ข้อ ข. และ ข้อ ค. ถูก
52. ในกรณีที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรทำการปฐมพยาบาลอย่างไร
ก. เอามีดขูดออก แล้วทายารักษาแผลน้ำร้อนลวก
ข. ใช้น้ำเย็นราดตรงบริเวณแผลอย่างน้อย 10 นาที
ค. ใช้เข็มเจาะถุงน้ำที่พองออก
ง. ทาน้ำมัน ครีม ที่บริเวณแผล
53. ข้อใดคืออาการของผู้ป่วยที่กระดูกหัก ข้อเคลื่อน
ก. ปวดศีรษะมาก
ข. ปวด บวม ช้ำ บริเวณที่กระดูกหัก
ค. แขนและขามีอาการชา
ง. ไม่มีอาการใดใด
54. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในลักษณะใดที่ต้องใช้ผู้ช่วยเหลือคนเดียว
ก. อุ้มเคียง
ข. อุ้มแบบนั่งสองมือ
ค. อุ้มแบก
ง. ใช้เก้าอี้
55. ยาบ้า เรียกอีกอย่างว่าอะไร
ก. แอมเฟตามีน
ข. เมสคาลิน
ค. แอลเอสดี
ง. เอสทีพี
56. ข้อใดเป็นโรคที่เกิดจากการติดสุรา
ก. มะเร็งปอด
ข. เบาหวาน
ค. ตับแข็ง
ง. ริดสีดวง
57. ข้อใดไม่ใช่อาการของผู้ติดสารระเหย
ก. มีอาการประสาทหลอน
ข. อารมณ์แปรปรวน
ค. อารมณ์ดี
ง. ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์
58. บุคคลใดมีบทบาทในการป้องกันการติดสารเสพติดในเด็กและเยาวชนมากที่สุด
ก. พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ข. ครู อาจารย์
ค. พระภิกษุ
ง. แพทย์
59. เมื่อนักเรียนพบเห็นเพื่อน หรือพี่น้องมีแนวโน้มว่าจะติดสารเสพติด นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ตักเตือน
ข. ขอร้อง
ค. แสดงความชื่นชม
ง. แสดงความคิดเห็น
60. สารเสพติดชนิดใดมีฤทธิ์ทำลายสมองได้มากที่สุด
ก. บุหรี่
ข. สุรา
ค. กัญชา
ง. สารระเหย
เฉลยข้อสอบ
ข้อที่ | เฉลย | ข้อที่ | เฉลย | ข้อที่ | เฉลย | ข้อที่ | เฉลย | ข้อที่ | เฉลย | ข้อที่ | เฉลย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. | ข. | 11. | ง. | 21. | ง. | 31. | ง. | 41. | ก. | 51. | ง. |
2. | ง. | 12. | ค. | 22. | ค. | 32. | ก. | 42. | ข. | 52. | ข. |
3. | ก. | 13. | ก. | 23. | ก. | 33. | ค. | 43. | ก. | 53. | ข. |
4. | ค. | 14. | ก. | 24. | ค. | 34. | ง. | 44. | ง. | 54. | ค. |
5. | ค. | 15. | ข. | 25. | ง. | 35. | ก. | 45. | ข. | 55. | ก. |
6. | ข. | 16. | ข. | 26. | ค. | 36. | ข. | 46. | ค. | 56. | ค. |
7. | ข. | 17. | ค. | 27. | ข. | 37. | ค. | 47. | ค. | 57. | ง. |
8. | ก. | 18. | ค. | 28. | ก. | 38. | ง. | 48. | ง. | 58. | ก. |
9. | ง. | 19. | ง. | 29. | ง. | 39. | ข. | 49. | ก. | 59. | ก. |
10. | ค. | 20. | ข. | 30. | ข. | 40. | ง. | 50. | ง. | 60. | ง. |