ตัวอย่างข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.1 จำนวน 60 ข้อ สำหรับนักเรียนชั้น ม.1 และ นักเรียนชั้น ป.6 ที่ต้องการแนวข้อสอบเข้าม1 พร้อมกับเฉลยท้ายข้อสอบ
1. ข้อใดเป็นปริมาณสเกลาร์
ก. โต๊ะสูงจากพื้น 10 เมตร
ข. แอนออกแรง 5 นิวตัน ดันตู้เสื้อผ้า
ค. รถยนต์วิ่ง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปทางเหนือ
ง. อ่างเดินจากบ้านถึงโรงเรียนเป็นทางตรง 500 เมตร
2. ข้อใดเป็นปริมาณเวกเตอร์
ก. มวลของวัตถุ
ข. ประจุไฟฟ้า
ค. แรงโน้มถ่วงของโลก
ง. อุณหภูมิของอากาศ
3. การเคลื่อนที่ในข้อใดต่างจากข้ออื่น
ก. การหล่นของผลไม้จากต้น
ข. การปาลูกบอลไปในสนาม
ค. การโยนลูกบาสเกตบอลลงห่วง
ง. การโยนลูกมะพร้าวขึ้นรถบรรทุก
4. ฝนสังเกตการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกาโดยลูกตุ้มจะแกว่งกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิม การเคลื่อนที่ของลูกตุ้มนาฬิกาเป็นการเคลื่อนที่แบบใด
ก. การเคลื่อนที่แนวตรง
ข. การเคลื่อนที่แนวโค้ง
ค. การเคลื่อนที่แบบวงกลม
ง. การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
5. นักเรียนพบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ชนรถบรรทุกบาดเจ็บบริเวณสี่แยกสามย่าน ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ นักเรียนจะแจ้ง 191 โดยบอกตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุจุดอ้างอิงที่เหมาะสมที่สุดคือจุดใด
ก. ถนนพญาไท
ข. เขตปทุมวัน
ค. สี่แยกสามย่าน
ง. กรุงเทพ ฯ
6. นักเรียนเดินทางไปทางทิศเหนือระยะทาง 500 เมตร แล้วเดินกลับทางเดิม ระยะทาง 200 เมตร ระยะทางทั้งหมดที่นักเรียนเดินเป็นเท่าใด
ก. 200 เมตร
ข. 300 เมตร
ค. 500 เมตร
ง. 700 เมตร
7. จากข้อ 6. การกระจัดในการเดินของนักเรียนเป็นเท่าใด
ก. 200 เมตร
ข. 300 เมตร
ค. 500 เมตร
ง. 700 เมตร
8. เหตุการณ์ในข้อใดการกระจัดมีค่าเป็นศูนย์
ก. โยนลูกปิงปองจากโต๊ะลงสู่พื้น
ข. โยนลูกบาสเกตบอลเข้าห่วง ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้น 15 เมตร
ค. โหม่งลูกฟุตบอลขึ้นไปในแนวตรง แล้วลูกบอลตกลงบนศีรษะ
ง. ยืนอยู่บนหลังคารถยนต์ โยนลูกบอลขึ้นไปในอากาศแล้วลูกบอลตกลงสู่พื้นดิน
9. ข้อใดบอกความแตกต่างระหว่างความเร็วกับอัตราเร็วได้ถูกต้อง
ก. อัตราเร็วและความเร็วจะมีค่าเท่ากันเสมอ
ข. อัตราเร็วมีขนาด ไม่มีทิศทาง แต่ความเร็วมีทั้งขนาดและทิศทาง
ค. อัตราเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ ส่วนความเร็วเป็นปริมาณสเกลาร์
ง. หน่วยของความเร็ว คือ เมตรต่อนาที ส่วนหน่วยของอัตราเร็ว คือ เมตรต่อวินาที
10 ข้อใดกล่าวถึงอัตราเร็วได้ถูกต้อง
ก. ม้าวิ่งจากบ้านไปถึงไร่ทางทิศเหนือ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข. กานต์ขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ค. แก้วขับรถยนต์ ซึ่งอ่านค่าตัวเลขบนหน้าปัดรถยนต์ได้ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ง. แก่นขับรถยนต์จากทางด่วนรามอินทราถึงทางด่วนสาทร 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
11. รถจักรยานยนต์มีอัตราเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แสดงว่ามีอัตราเร็วกี่เมตรต่อวินาที
ก. 80 เมตรต่อวินาที
ข. 160 เมตรต่อวินาที
ค. 8,000 เมตรต่อวินาที
ง. 22.22 เมตรต่อวินาที
12. รถบรรทุกขนทุเรียนจากกรุงเทพฯ เพื่อไปจังหวัดขอนแก่นเป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถบรรทุกต้องใช้เวลานานเท่าใดจึงจะถึงจังหวัดขอนแก่น
ก. 5 ชั่วโมง
ข 8 ชั่วโมง
ค. 24 ชั่วโมง
ง. 80 ชั่วโมง
13. จอยเดินจากโรงเรียนถึงบ้านด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 2 เมตรต่อวินาที ใช้เวลาในการเดิน 100 วินาที ระยะทางจากบ้านถึงโรงเรียนมีระยะทางเท่าใด
ก. 2 เมตร
ข. 20 เมตร
ค. 100 เมตร
ง. 200 เมตร
14. พยาบาลจดอุณหภูมิร่างกายของคนไข้เมื่อเวลา 07.00 น. อุณหภูมิเป็น 37 องศาเซลเซียส และจดอีกครั้งเวลา 11.00 น อุณหภูมิเป็น 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของคนไข้เพิ่มขึ้นกี่เคลวิน
ก. 2 เคลวิน
ข. 12 เคลวิน
ค. 273 เคลวิน
ง. 312 เคลวิน
15. เทอร์มอมิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดระดับความร้อนในวัตถุ ดังนั้นควรเลือกของเหลวที่บรรจุในหลอดแก้วของเทอร์มอมิเตอร์ที่มีคุณสมบัติใด และนิยมใช้ของเหลวชนิดใด
ก. หดตัวเร็ว แต่ขยายตัวช้า นิยมใช้ปรอทและตะกั่ว
ข. หดตัวช้า แต่ขยายตัวได้ดี นิยมใช้ปรอทและตะกั่ว
ค. ขยายตัวและหดตัวได้ดี นิยมใช้ปรอทและน้ำใส่สี
ง. ขยายตัวและหดตัวได้ดี นิยมใช้ ปรอทและแอลกอฮอล์ใส่สี
16. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. หน่วยองศาเซลเซียสเป็นระบบสากลที่นิยมใช้ทั่วโลก
ข. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยองศาเซลเซียสมีจุดเยือกแข็งต่ำกว่า 0 oC
ค. เทอร์มอมิเตอร์หน่วยเคลวิน มีจุดเยือกแข็งและจุดเดือดห่างกัน 100 ช่อง
ง. เทอร์มอมิเตอร์แบบธรรมดามีขีดบอกอุณหภูมิจุดเยือกแข็งและจุดเดือดที่ 0 – 212 oF
17. ข้อใดอธิบายการถ่ายโอนความร้อนได้ถูกต้อง
ก. ความร้อนจะถ่ายเทจากที่ต่ำไปสู่ที่สูง
ข. ความร้อนจะถ่ายเทจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ
ค. ความร้อนจะถ่ายเทจากที่อุณหภูมิต่ำไปสู่อุณหภูมิสูง
ง. ความร้อนจะถ่ายเทจากที่อุณหภูมิสูงไปสู่อุณหภูมิต่ำ
18. จากภาพถ้านักเรียนจับที่หูของภาชนะที่ทำจากโลหะ เหตุใดจึงรู้สึกร้อน
ก. มีการแผ่รังสีจากน้ำร้อนมายังมือ
ข. อนุภาคของอากาศนำความร้อนจากน้ำมายังมือ
ค. อนุภาคความร้อนเคลื่อนที่จากน้ำร้อนผ่านโลหะมาสู่มือ
ง. อนุภาคของน้ำเคลื่อนที่จากน้ำร้อนผ่านโลหะมาสู่มือ
19. จากภาพเป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวิธีใดตามลำดับเรียงจาก 1 2 และ 3
ก. การแผ่รังสีความร้อน การนำความร้อน การพาความร้อน
ข. การนำความร้อน การแผ่รังสีความร้อน การพาความร้อน
ค. การพาความร้อน การนำความร้อน การแผ่รังสีความร้อน
ง. การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน
20. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการถ่ายโอนความร้อน
1. ด้ามจับภาชนะที่ทำจากโลหะต้องหุ้มด้วยพลาสติก
2. ร่างกายขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อน
3. ยืนเข้าแถวกลางแดดทำให้ร้อนมาก
ข้อ | การนำความร้อน | การพาความร้อน | การแผ่รังสีความร้อน |
ก. | 1. | 2. | 3. |
ข. | 2. | 3. | 1. |
ค. | 3. | 1. | 2. |
ง. | 1. | 3. | 2. |
21. ข้อใดกล่าวผิด
ก. การเกิดลมและพายุ เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน
ข. สวมเสื้อผ้าสีขาวเดินกลางแดดจะร้อนกว่าปกติ เพราะสีขาวดูดความร้อนได้ดี
ค. การทำรางรถไฟด้วยเหล็กต้องเว้นระยะห่างไว้ เพราะเหล็กจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน
ง. ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ดังนั้นเพื่อให้บ้านเย็นสบายควรเลือกใช้สีโทนอ่อนทาภายใน
22. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. บ้านทรงไทยระบายความร้อนได้ดี เพราะมีหลังคาทรงสูง
ข. ตัวกลางที่เป็นของแข็งจะพาความร้อนได้ดีกว่าของเหลวและแก๊ส
ค. ตัวนำความร้อนจะไม่ยอมให้ความร้อนผ่านได้ง่าย จึงทำให้ตัวนำความร้อนมีอุณหภูมิสูง
ง. หากหลังคาด้วยสังกะสีจะร้อนกว่ามุงด้วยกระเบื้อง เพราะสังกะสีพาความร้อนได้ดีกว่า
23. บริเวณด้านล่างของภาชนะหุงต้มอาหารที่ทำจากโลหะควรเคลือบด้วยสีใด จึงจะทำให้ภาชนะร้อนได้เร็วและช่วยประหยัดพลังงาน
ก. สีขาว
ข. สีดำ
ค. สีเงิน
ง. สีแดง
24. รถยนต์ที่วิ่งบนถนนที่ร้อนจัด ยางรถยนต์มักระเบิด เนื่องมาจากสาเหตุใด
ก. การหดตัวของเนื้อยางรถยนต์
ข. การหลอมเหลวของเนื้อยางรถยนต์
ค. การหดตัวของอากาศในยางรถยนต์
ง. การขยายตัวของอากาศในยางรถยนต์
25. เมื่อวางแก้วที่มีน้ำชาร้อนทิ้งไว้สักครู่ ปรากฏว่าน้ำชาในแก้วมีอุณหภูมิเท่ากับอากาศ เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ก. การนำความร้อน
ข. การแผ่รังสีความร้อน
ค. สมดุลความร้อน
ง. การดูดกลืนความร้อน
26. อุปกรณ์ใดต่อไปนี้ใช้หลักการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อน
ก. สวิตช์ไฟฟ้า
ข. เครื่องเตือนไฟไหม้
ค. ถ่านไฟฉาย
ง. มอเตอร์ไฟฟ้า
27. เมื่อเทน้ำเดือดลงในภาชนะที่ทำจากแก้วหนา เหตุใดแก้วจึงแตกร้าว
ก. แรงดันของไอน้ำทำให้ภาชนะแตกร้าว
ข. เกิดการหดตัวของภาชนะทั้งด้านในและด้านนอก
ค. เกิดการขยายตัวของภาชนะทั้งด้านในและด้านนอก
ง. ด้านในของภาชนะขยายตัวขณะที่ด้านนอกไม่เปลี่ยนแปลง
28. ข้อใดเรียงลำดับความสามารถในการขยายตัวของสารตามสถานะได้ถูกต้อง
ก. น้ำแข็ง → น้ำ → ไอน้ำ
ข. ไอน้ำ → น้ำ → น้ำแข็ง
ค. น้ำ → ไอน้ำ → น้ำแข็ง
ง. ไอน้ำ → น้ำแข็ง → น้ำ
29. “สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิบนโลกสูงขึ้น คือ แก๊สโอโซนในชั้นบรรยากาศถูกทำลายจนเกิดรูโหว่ รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์จึงผ่านมายังพื้นผิวโลกมากขึ้น” จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าชั้นบรรยากาศใดถูกทำลาย
ก. โทรโพสเฟียร์
ข. มีโซสเฟียร์
ค. สตราโตสเฟียร์
ง. เอกโซสเฟียร์
30. เหตุผลในข้อใดที่มนุษย์ใช้ประโยชน์จากชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ในการส่งคลื่นวิทยุ
ก. มีรังสีอินฟราเรดจำนวนมากและแตกตัวให้คลื่นวิทยุได้
ข. มีประจุไฟฟ้าอิสระอยู่มาก สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้
ค. มีไอน้ำซึ่งดูดซับประจุไฟฟ้าของคลื่นวิทยุและสะท้อนคลื่นวิทยุได้
ง. มีความหนาแน่นของอากาศมากที่สุด คลื่นวิทยุไม่สามารถผ่านได้จึงสะท้อนกลับ
31. หากนักเรียนนั่งเครื่องบินขึ้นไปสูงจากพื้นโลก อากาศในชั้นบรรยากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก. ความหนาแน่นและความดันลดลง
ข. ความหนาแน่นและความดันเพิ่มขึ้น
ค. ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นความดันลดลง
ง. ความหนาแน่นลดลงความดันเพิ่มขึ้น
32. จากตารางการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตของชั้นบรรยากาศ บรรยากาศชั้นใดช่วยป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตมากที่สุด
ชั้นบรรยากาศ | ปริมาณการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต (%) | |
ก่อนผ่านชั้นบรรยากาศ | หลังผ่านชั้นบรรยากาศ | |
โทรโพสเฟียร์ | 60 | 40 |
สตราโตสเฟียร์ | 60 | 20 |
มีโซสเฟียร์ | 60 | 50 |
เอกโซสเฟียร์ | 60 | 60 |
ก. โทรโพสเฟียร์
ข. สตราโทสเฟียร์
ค. มีโซสเฟียร์
ง. เอกโซสเฟียร์
33. ข้อใดกล่าวผิด
ก. ถ้าตากผ้าในวันที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง เสื้อผ้าจะแห้งช้า
ข. ในฤดูหนาวผิวหนังจะแตกและแห้ง เพราะอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
ค. ก่อนฝนตกอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้เหงื่อระเหยได้น้อย เพราะมีไอน้ำในอากาศมาก
ง. อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ คือ อากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ซึ่งไม่สามารถรับไอน้ำได้อีก
34. วัดความดันอากาศที่ยอดดอยอินทนนท์ได้ 260 มิลลิเมตรของปรอท ซึ่งยอดเขาใหญ่วัดความสูงได้ 2,000 เมตร ดังนั้นยอดดอยอินทนนท์มีความสูงต่างจากยอดเขาใหญ่กี่เมตร
ก. 2,060 เมตร
ข. 2,260 เมตร
ค. 3,500 เมตร
ง. 5,500 เมตร
35. จากตารางเปรียบเทียบความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศโดยใช้ไฮกรอมิเตอร์กระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง พบว่าอุณหภูมิที่อ่านได้ เป็นดังนี้
วัน / เดือน / ปี | ไฮกรอมิเตอร์ | |
กระเปาะเปียก (oC) | กระเปาะแห้ง (oC) | |
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | 20 | 24 |
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | 25 | 29 |
จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
ก. ทั้งสองวันมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากัน
ข. วันที่ 10 ธันวาคม 2552 มีอุณหภูมิต่ำกว่าวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ค. วันที่ 15 ธันวาคม 2552 มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ง. วันที่ 10 ธันวาคม 2552 มีผลต่างของอุณหภูมิน้อยกว่าวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552
36. คุณสมบัติใดเป็นสาเหตุให้อากาศมีแรงดัน
ก. ขยายตัวได้ง่าย
ข. เคลื่อนที่ได้
ค. มีไอน้ำปะปนอยู่
ง. ต้องการที่อยู่
37. อุปกรณ์ในข้อใดไม่ได้ใช้หลักการแรงดันอากาศ
ก. หลอดของยาหยอดตา
ข. ตุ๊กแกเกาะติดกับผนังห้อง
ค. แผ่นสติกเกอร์ที่ติดกระจก
ง. การสูบหมึกเข้าในปากกาหมึกซึม
38. เพราะเหตุใดอากาศจึงดันน้ำในบารอมิเตอร์น้ำ ได้สูงกว่าปรอทในบารอมิเตอร์ปรอท
ก. น้ำระเหยได้ง่ายกว่า
ข. น้ำมีน้ำหนักมากกว่าปรอท
ค. น้ำมีความหนาแน่นมากกว่าปรอท
ง. น้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าปรอท
39. เมื่อนักเรียนนั่งรถขึ้นบนภูเขาสูงจะรู้สึกหูอื้อเนื่องจากสาเหตุใด
ก. ความดันอากาศลดลง
ข. ความชื้นในอากาศมาก
ค. อุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น
ง. ปริมาณไอน้ำในอากาศมีมาก
40. ถ้าเปรียบเทียบความชื้นสัมพัทธ์ก่อนฝนตกจะได้ค่าความชื้นสัมพัทธ์ใกล้เคียงกับข้อใด
ก. ในถ้ำ
ข. ในป่า
ค. ทุ่งนา
ง. บริเวณชายหาด
41. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุการเกิดลมบก ลมทะเล
ก. ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมจากดวงจันทร์
ข. อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและเหนือพื้นน้ำ
ค. ความสามารถในการรับและคายความร้อนของพื้นดินและพื้นน้ำ
ง. ความกดอากาศที่แตกต่างกันระหว่างเหนือพื้นดินและเหนือพื้นน้ำ
42. สถานที่ใดมีปริมาณไอน้ำในอากาศมากที่สุด
ก. ในถ้ำที่มีค้างคาวอาศัยอยู่
ข. ในทะเททราย
ค. ในห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศ
ง. ในสวนป่าอุทยานแห่งชาติ
43. นักเรียนสังเกตบนท้องฟ้าพบเมฆสีดำก่อตัวในแนวตั้งหนาทึบมียอดเป็นรูปทั่ง แสดงว่าลักษณะอากาศจะเป็นอย่างไร
ก. กำลังมีฝนตกปอย ๆ
ข. กำลังมีพายุฝนฟ้าคะนอง
ค. มีหมอกลงจัดและกำลังมีหิมะตก
ง. จะเกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกรด
44. ในตอนเช้ามืดนักเรียนจะสังเกตเห็นหมอกเกิดขึ้นเหนือพื้นดิน ข้อใดอธิบายการเกิดหมอกได้ถูกต้อง
ก. มีฝุ่นละอองในอากาศมาก
ข. อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
ค. มีอากาศเย็นอยู่เหนืออากาศร้อน
ง. มีไอน้ำในอากาศสูงและอากาศเย็น
45. พายุที่พัดผ่านประเทศกัมพูชามีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แสดงว่าเป็นลมพายุประเภทใด
ก. พายุไต้ฝุ่น
ข. พายุโซนร้อน
ค. พายุดีเปรสชัน
ง. พายุทอร์นาโด
46. การพยากรณ์ใดเป็นการเตือนภัยให้กับประชาชนได้ดีที่สุด
ก. การบอกถึงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยใน 1 ปี
ข. การบอกเวลาขึ้นและตกของดวงอาทิตย์
ค. การประกาศให้ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับสึนามิ
ง. การบอกอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในรอบวัน
47. จากพยากรณ์อากาศ “ประเทศไทยมีความกดอากาศต่ำ” แสดงว่าอากาศในประเทศไทยเป็นอย่างไร
ก. มีอุณหภูมิต่ำ
ข. มีอุณหภูมิสูง
ค. เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ง. อากาศสงบเงียบ
48. ถ้าโลกเราไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม อุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนจะเป็นอย่างไร
ก. อุณหภูมิช่วงกลางวันสูงมากและกลางคืนสูงมาก
ข. อุณหภูมิช่วงกลางวันต่ำมากและกลางคืนสูงมาก
ค. อุณหภูมิช่วงกลางวันสูงมากและกลางคืนต่ำมาก
ง. อุณหภูมิช่วงกลางวันและกลางคืนมีค่าคงที่และเท่ากัน
49. ตอนเช้าที่มีหมอกลงจัดมีผลต่อทัศนวิสัยในการขับขี่ยานพาหนะ เพราะเหตุใด
ก. ทำให้มองเห็นถนนได้ในระยะใกล้ๆ เท่านั้น
ข. มีลมพายุทำให้มีหมอกจึงอันตรายต่อการขับขี่
ค. แสงแดดที่ส่องกระทบหมอกทำให้มองไม่เห็น
ง. ทุกข้อที่กล่าวมา
50. กิจกรรมใดไม่ได้ช่วยป้องกันให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
ก. ปิดเครื่องปรับอากาศ
ข. ลดการเผาขยะ
ค. เพิ่มปริมาณไอน้ำในอากาศ
ง. ปลูกป่าชายเลน
51. เพราะเหตุใดปรากฏการณ์เรือนกระจกจึงมีผลต่อสิ่งมีชีวิต
ก. ปริมาณแก๊สออกชิเจนลดลง
ข. สิ่งมีชีวิตได้รับรังสีที่เป็นอันตราย
ค. ปริมาณแก๊สไนโตรเจนเพิ่มมากขึ้น
ง. สิ่งมีชีวิตบางชนิดหยุดเจริญเติบโตเพราะขาดแสงแดด
52. ข้อใดเป็นการควบคุมการเกิดฝนกรดได้ดีที่สุด
ก. ลดการผลิตสารพวกกำมะถัน
ข. ใช้น้ำและไฟฟ้าอย่างประหยัด
ค. ลดการใช้อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดสาร CFCs
ง. เพิ่มจำนวนออกซิเจนในอากาศให้มากขึ้น
53. เพราะเหตุใดแก๊สโอโซนในบรรยากาศจึงมีปริมาณลดลง
ก. มนุษย์นำมาใช้ปริมาณมาก
ข. เกิดจากมีฝนตกปริมาณมาก
ค. ถูกทำลายโดยสารที่ใช้ในตู้เย็น
ง. เกิดจากการปล่อยดาวเทียมโคจรบนชั้นบรรยากาศ
54. สาร CFCs ส่งผลต่อบรรยากาศระดับพื้นดิน อย่างไร
ก. ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตลดลง
ข. ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตเพิ่มมากขึ้น
ค. ทำให้ปริมาณแก๊สออกซิเจนในอากาศลดลง
ง. ทำให้ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศมากขึ้น
55. วัสดุที่ทำจากเหล็กเมื่อวางไว้กลางแจ้งจะเกิดรอยลักษณะสีเขียวอมฟ้าเกาะบริเวณผิว จากนั้นจะเกิดการสึกกร่อน กระบวนการดังกล่าวเกิดจากสิ่งใด
ก. อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ข. ฝุ่นละอองจากการจราจร
ค. การกัดกร่อนของฝนกรด
ง. สาร CFCs ในชั้นบรรยากาศ
56. กิจกรรมใดของมนุษย์ ที่เป็นผลทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจกมากที่สุด
ก. การคมนาคม
ข. การเผาไหม้
ค. การทำเกษตรกรรม
ง. การทำอุตสาหกรรม
57. การเกิดภาวะเรือนกระจกเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ใดน้อยที่สุด
ก. การเกิดอุทกภัย
ข. เกิดภาวะแห้งแล้ง
ค. ทำให้สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์
ง. ผลผลิตการเกษตรลดลง
58. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกมีสาเหตุจากข้อใดมากที่สุด
ก. อุทกภัย
ข. โคลนถล่ม
ค. ซึนามิ
ง. กิจกรรมของมนุษย์
59. แก๊สใดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดฝนกรดมากที่สุด
ก. ออกซิเจน
ข. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ค. มีเทน
ง. คาร์บอนไดออกไซด์
60. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบจากการเกิดรูโหว่โอโซน
ก. ทำให้เกิดโรคต้อกระจก
ข. ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
ค. ทำให้มีปริมาณแก๊สออกซิเจนมากขึ้น
ง. ทำลายแพลงก์ตอนซึ่งอาหารของสัตว์น้ำ
เฉลยข้อสอบ
ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. | ง. | 11. | ง. | 21. | ข. | 31. | ก. | 41. | ก. | 51. | ข. |
2. | ค. | 12. | ก. | 22. | ก. | 32. | ข. | 42. | ง. | 52. | ก. |
3. | ก. | 13. | ง. | 23. | ข. | 33. | ง. | 43. | ข. | 53. | ค. |
4. | ง. | 14. | ก. | 24. | ง. | 34. | ค. | 44. | ง. | 54. | ข. |
5. | ค. | 15. | ง. | 25. | ค. | 35. | ข. | 45. | ก. | 55. | ค. |
6. | ง. | 16. | ค. | 26. | ข. | 36. | ง. | 46. | ค. | 56. | ง. |
7. | ข. | 17. | ง. | 27. | ง. | 37. | ค. | 47. | ข. | 57. | ค. |
8. | ค. | 18. | ค. | 28. | ข. | 38. | ง. | 48. | ค. | 58. | ง. |
9. | ข. | 19. | ง. | 29. | ค. | 39. | ก. | 49. | ก. | 59. | ข. |
10. | ค. | 20. | ก. | 30. | ข. | 40. | ข. | 50. | ค. | 60. | ค. |