ข้อสอบดนตรี นาฏศิลป์ ม.1

วันที่โพสต์

หมวดหมู่

แนวข้อสอบวิชาข้อสอบดนตรี นาฏศิลป์ ชั้น ม.1 จำนวน 50 ข้อ พร้อมเฉลย สำหรับนักเรียนชั้นม1 ที่ต้องการแนวข้อสอบ หรือนักเรียน ป.6 ที่ต้องการแนวข้อสอบเข้าม1

1. เครื่องดนตรีไทยในข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าดนตรีไทยได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ

         ก. อังกะลุง                        

         ข. ปี่

         ค.โปงลาง                          

         ง. แคน

2.  ข้อใดแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมอย่างชัดเจนที่สุด

         ก. การแข่งขันกรีฑา         

         ข. การแสดงละครเวที

         ค.พิธีสวดพระอภิธรรม   

         ง. งานทำบุญเลี้ยงพระ

3.  ดนตรีไทยที่มีความไพเราะน่าฟัง จะต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง

          ก. นักร้อง-เครื่องดนตรี-ทำนอง-จังหวะ

          ข. นักร้อง-เครื่องดนตรี-เครื่องเสียง-การประสานเสียง

          ค. เสียงดนตรี-ทำนอง-จังหวะ-การประสานเสียง

          ง. เครื่องดนตรี-จังหวะ-ทำนอง-การขับร้อง

4.  อัตราจังหวะที่มีความยาวมากที่สุด หรือช้าที่สุด มีความยาวกว่าอัตราจังหวะ 2 ชั้น 16 ท่า คือข้อใด

         ก. 1 ชั้น                                 

         ข. 2 ชั้น

         ค. 3 ชั้น                                 

         ง. 4 ชั้น

5.  ข้อใดเป็นการเคาะจังหวะของโน้ตตัวที่มีความยาวของจังหวะเท่าๆ กัน

         ก.  

         ข.

         ค. 

         ง.

6.   การประสมวงดนตรีไทยในข้อใดไม่ถูกต้อง

         ก. วงมโหรีมีเครื่องดนตรีทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า

         ข. วงเครื่องสายประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทสายเพียงอย่างเดียว

         ค. วงปี่พาทย์ชั้นสูงใช้ในการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครู

         ง.  วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง

7.   ซอด้วง ซออู้ ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศใด

         ก. อินโดนีเซีย                     

         ข. ลาว

         ค. จีน                                   

         ง. อินเดีย

8.    วงเครื่องสาย ไม่ใช้เครื่องดนตรีในข้อใดร่วมบรรเลง

         ก.ขลุ่ยเพียงออ                    

         ข.ระนาดเอก

         ค.จะเข้                                

         ง. ซออู้

9.     เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นเพลงแรก ก่อนการบรรเลงหรือการแสดงจะเริ่ม มีชื่อเรียกตรงกับข้อใด

         ก.เพลงหน้าพาทย์                

         ข.เพลงเรื่อง

         ค.เพลงโหมโรง                    

         ง.เพลงหางเครื่อง

10.   วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

         ก.วงมโหรี                              

         ข. วงเครื่องสาย

         ค.วงปี่พาทย์                            

         ง. แตรวง

11.    วงซะล้อ-ซึง เป็นวงดนตรีพื้นบ้านของภาคใด

         ก. ภาคเหนือ                            

         ข. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

         ค.ภาคกลาง                             

         ง. ภาคใต้

12.     การผสมวงต่อไปนี้ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

         ก. วงเชมเบอร์มิวสิค มีนักดนตรี 2-9 คน เล่นเครื่องดนตรีคนละ 2 ชิ้น บรรเลงเพลงยาว

         ข. วงซิมโฟนี มีนักดนตรีตั้งแต่ 40 คนขึ้นไป มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภทโดยมีเครื่องสายเป็นหลัก

         ค. วงแจ๊ส มีกำเนิดจากยุโรป มีนักดนตรี 10-20 คน มีรูปแบบการบรรเลงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

         ง.  วงสตริงคอมโบ เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้กลองทอมบาในการกำกับจังหวะ

13.     การปฏิบัติในข้อใดเป็นการดูแลรักษาเครื่องดนตรีได้ดีที่สุด

         ก. โต๋ นักเปียโน หลังจากฝึกซ้อมเพลงเสร็จใช้ผ้าคลุม

         ข. จอห์น เล่นอิเล็กโทนไปด้วยรับประทานขนมไปด้วย

         ค.  ปี๊ด ตั้งสายกีตาร์เสร็จแล้วเก็บใส่ในกล่องเป็นอย่างดี

         ง.  สมาชิกวงโยธวาทิตใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดเครื่องดนตรีเบาๆ หลังจากฝึกซ้อมทุกวัน

14.      เครื่องดนตรีในข้อใดจัดอยู่ในประเภทเดียวกัน

         ก.ฟลูต แซ็กโซโฟน         

         ข.ทรัมเป็ต ริคอร์เดอร์

         ค.ไวโอลิน กีตาร์              

         ง. กลอง อิเล็กโทน

15.      บันไดเสียงมีความสำคัญอย่างไร

         ก. ใช้บันทึกตัวโน้ต

         ข. ใช้เขียนหน้าตัวโน้ตที่ต้องการแปลงเสียง

         ค. ใช้แต่งทำนองเพลง เรียบเรียงประสาน

         ง.  ใช้บันทึกแสดงความสั้น-ยาวของเสียง

16.    ดนตรีคลาสสิกมีลักษณะอย่างไร

         ก. ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเป็นหลัก

         ข. ดนตรีสมัยนิยม

         ค. ดนตรีที่มีอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ

         ง.  ดนตรีขั้นสูง มีความงาม ความไพเราะของเสียง

17.     กุญแจซอลหรือกุญแจประจำหลัก() เริ่มเขียนบนบรรทัดเส้นที่เท่าใดในบรรทัดห้าเส้น

         ก.เส้นที่ 1                           

         ข. เส้นที่ 2

         ค.เส้นที่ 3                           

         ง. เส้นที่ 4

18.    โน้ตที่ปรากฏมีเสียงตรงกับข้อใด

         ก.ลา                                    

         ข. ที

         ค.โด                                   

         ง. เร

19.     โน้ตเพลงต่อไปนี้ควรใช้อัตราจังหวะในข้อใด

         ก.4/4                                     

         ข. 2/4

         ค.3/4                                      

         ง. 2/2

20.     “แซ็กโซโฟน” จัดเป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทใด

         ก.เครื่องเป่าลมไม้             

         ข.เครื่องสาย

         ค.เครื่องตี                           

         ง. เครื่องทองเหลือง

21.    การแสดงนาฏศิลป์ที่เกิดมาจากการแสดงที่มีแบบแผนตรงกับข้อใด

         ก. ฟ้อนเงี้ยว                      

         ข.เซิ้งโปงลาง

         ค. ระบำกฤดาภินิหาร      

         ง. ลาวกระทบไม้

22.     จารีตในการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียตรงกับข้อใด

         ก. ท่ารำ                              

         ข. การไหว้ครู

         ค. การแต่งกาย                  

         ง. การแต่งหน้า

23.     นาฏศิลป์ประเภทใดเมื่อชมการแสดงจบแล้ว ผู้ชมจะมีความเข้าใจในวิถีชีวิตของชุมชนมากยิ่งขึ้น

         ก. นาฏศิลป์ไทย                

         ข. นาฏศิลป์สากล

         ค. นาฏศิลป์พื้นบ้าน         

         ง. นาฏศิลป์นานาชาติ

24.     เพราะเหตุใด ผู้ฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยต้องนุ่งโจงกระเบน

         ก. เพราะต้องการให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน

         ข. เพราะการฝึกนาฏศิลป์ไทยต้องอาศัยความคล่องตัว

         ค. เพราะต้องการความเป็นระเบียบเรียบร้อย

         ง. เพราะต้องการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามเอาไว้

25.   วิธีประดิษฐ์ท่ารำให้มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ต้องปฏิบัติอย่างไร

         ก. ใช้ลีลาท่าเชื่อม                            

         ข. ปฏิบัติช้าๆ

         ค. เปลี่ยนท่ารำใหม่                         

         ง. เปลี่ยนระดับของวง

26.    “นาฏยศัพท์” คืออะไร

         ก. ศัพท์เฉพาะที่ใช้สื่อความหมายในวิชานาฏศิลป์

         ข. หลักปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์ไทย

         ค. ศัพท์เฉพาะที่ใช้สื่อความหมายในวิชานาฏศิลป์

         ง. ศัพท์ที่ใช้แทนภาษาใบ้

27.    นาฏยศัพท์ในข้อใดที่เป็นหลักของท่ารำ

         ก. กระทุ้ง – กระดก

         ข. ตั้งวง – จีบหลัง

         ค. ก้าวเท้า- จรด

         ง. ตั้งวง – จีบ

28.    การจีบมือที่ถูกวิธี ต้องปฏิบัติอย่างไร

         ก. นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ประสานกัน นิ้วที่เหลือทั้งหมดกรีดออกไปเป็นรูปพัด

         ข. นิ้วหัวแม่มือจดข้อใดข้อหนึ่งของนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือทั้งหมดกรีดออกไปเป็นรูปพัด

         ค. นิ้วหัวแม่มือจดกับข้อแรกของนิ้วชี้นับจากปลายนิ้วลงมา นิ้วที่เหลือกรีดออกไปคล้ายพัด

         ง. นิ้วหัวแม่มือจดกับข้อที่สองของนิ้วชี้ นับจากปลายนิ้วลงมานิ้วที่เหลือกรีดออกไปคล้ายพัด

29.     วิธีปฏิบัติการก้าวข้างของตัวพระ น้ำหนักตัวต้องตกลงที่ใด

         ก. อยู่ที่ขาที่ก้าว                

         ข. อยู่ที่ขาขวา ถ้าก้าวขาซ้าย

         ค. อยู่ที่ขาซ้าย ถ้าก้าวขาขวา          

         ง. อยู่ตรงกลางระหว่างขาทั้งสอง

30.     วิธีปฏิบัติใดต่อไปนี้ เป็นกิริยาตามนาฏยศัพท์ที่ว่า “ยกจมูกเท้าขึ้น ย่อเข่าลงแล้วตบจมูกเท้าลง ส้นเท้ายังวางอยู่บนพื้นพร้อมยกเท้าขึ้น”

         ก. กระดก                          

         ข. กระทุ้ง

         ค.ประเท้า                          

         ง. สะดุด

31.  การตั้งวงของตัวพระและตัวนาง แตกต่างกันที่จุดใด

         ก. ตำแหน่งของฝ่ามือ      

         ข. ตำแหน่งของปลายมือ

         ค. ตำแหน่งของลำแขน   

         ง. ตำแหน่งของข้อศอก

32.   การตีบท ต้องใช้ความรู้ด้านนาฏศิลป์ในเรื่องใดบ้าง

         ก. นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำ         

         ข. บทร้องและทำนองดนตรี

         ค. บทประพันธ์ประเภทคำกลอน 

         ง. การดัดมือ ดัดแขน ดัดตัว

33.    ข้อใดจัดเป็น “นาฏศิลป์พื้นบ้าน”

         ก. รำวงมาตรฐาน                            

         ข. โขน

         ค. ระบำกฤดาภินิหาร                     

         ง. รำโทน

34.     ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเล่นรำโทนได้แก่อะไรบ้าง

         ก. โทน กรับ ฉิ่ง                               

         ข. ฉิ่ง กรับ โหม่ง

         ค. ฉิ่ง ฉาบ กรับ                               

         ง. โทน โหม่ง ฉิ่ง

35.     เครื่องแต่งกายแบบใดที่ ไม่ใช่การแต่งกายสำหรับแสดงรำวงมาตรฐาน

         ก. แบบพื้นบ้าน                                

         ข. แบบสากลนิยม

         ค. แบบไทยพระราชนิยม               

         ง. แบบยืนเครื่องพระ-นาง

36.      เพลง “งามแสงเดือน” ใช้ท่ารำใด

         ก. ท่ารำส่าย                                      

         ข. ท่ารำแขกเต้า

         ค. ท่ารำชักแป้งผัดหน้า                  

         ง. ท่ารำสอดสร้อยมาลา

37.     รำเหย่ย หรือเพลงเหย่ย เป็นการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดใด

         ก. สุรินทร์                                         

         ข. หนองคาย

         ค. กาญจนบุรี                                   

         ง. สุพรรณบุรี

38.    โขนโรงใน เป็นนาฏกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากข้อใด

         ก. ละครใน                                       

         ข. ละครชาตรี

         ค. ละครนอก                                    

         ง. ละครพันทาง

39.    นักเรียนควรเลือกชุดการแสดงใดต่อไปนี้ มาแสดงในพิธีเปิดงานกิจกรรมในโรงเรียน

         ก.ระบำกฤดาภินิหาร                      

         ข. รำแม่บท

         ค. ระบำชุมนุมเผ่าไทย                    

         ง. รำวงมาตรฐาน

40.   ละครไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก ตรงกับข้อใด

         ก. สาวิตรี                                          

         ข. อิเหนา

         ค. รามเกียรติ์                                    

         ง. จันทกินรี

41.   ละครแก้บน ได้รับอิทธิพลมาจากข้อใด

         ก.  วิถีชีวิต                                        

         ข. ค่านิยม

         ค. นโยบายของรัฐ                           

         ง. ความเชื่อ

42.   การแสดงละครของกรีก รุ่นแรกเป็นการแสดงแบบใด

         ก. สุขนาฏกรรม                               

         ข. โศกนาฏกรรม

         ค. ตลกชวนหัว                                

         ง.  สุขนาฏกรรมและโศกนาฏกรรม

43.    ละครสร้างสรรค์ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องใด

         ก. การแต่งกาย                                 

         ข. การจัดเวที

         ค. การแสดงอารมณ์                        

         ง. การแสดงบทบาท

44.    ข้อใดเป็นหลักในการขับร้องประกอบการแสดง

         ก. ต้องคำนึงถึงระดับเสียง             

         ข. ต้องคำนึงถึงจังหวะของเพลง

         ค. ต้องใส่อารมณ์ตามบทร้อง        

         ง. ต้องมีความประณีตในคำร้องและทำนอง

45.    ละครต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

         ก. เรื่อง เนื้อหา ฉาก เครื่องแต่งกาย

         ข. เรื่อง ฉาก การแต่งกาย บทเจรจา

         ค. เรื่อง เนื้อหาสรุป นิสัยตัวละคร บรรยากาศ

         ง. เรื่อง ตัวละคร ฉาก อุปกรณ์

46.    การฝึกซ้อมในการแสดงละครมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

         ก. ซ้อมการสื่อสารกับผู้แสดงร่วม

         ข. ซ้อมการเดินออก เดินเข้า การนั่ง ยืน

         ค. ซ้อมอ่านบท ซ้อมการเคลื่อนไหว          

         ง. ซ้อมการใช้อุปกรณ์ เครื่องตกแต่งฉาก

47.    ประสาทสัมผัสทั้งห้า คืออะไร

         ก. ตา คอ หู จมูก มือ                        

         ข. ตา ขา มือ ผม เล็บ

         ค. ตา ขา จมูก หู คอ                        

         ง.ตา หู จมูก ลิ้น มือ

48.    ละครสร้างสรรค์แตกต่างจากละครโทรทัศน์อย่างไร

         ก. ละครสร้างสรรค์ต้องแสดงบนเวทีละคร

         ข. ละครสร้างสรรค์ไม่ต้องแสดงต่อหน้าผู้ชม

         ค. ละครสร้างสรรค์ต้องสร้างบรรยากาศด้วยแสง สี เสียง

         ง. ละครสร้างสรรค์ต้องการพื้นที่ในการแสดงที่บรรจุผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก

49.    เอกลักษณ์ของละครสดตรงกับข้อใด

         ก. การแสดงตามบท                       

         ข. การวางท่าทาง

         ค. การวางท่าทางไม่มีบทพูด         

         ง. ใช้ปฏิภาณไหวพริบการแสดงเฉพาะหน้า

50.    ข้อใดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การละครเปลี่ยนแปลง

         ก. นโยบายของรัฐ ค่านิยม วิถีชีวิต กาลเวลา และเทคโนโลยี

         ข. นโยบายของรัฐ การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

         ค. นโยบายของรัฐ ความแปลงของสังคม วิถีชีวิตของคนในชุมชน

         ง. นโยบายของรัฐ ความเจริญของชุมชน ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

เฉลยข้อสอบ

ข้อคำตอบข้อคำตอบข้อคำตอบข้อคำตอบข้อคำตอบ
1.ก.11.ก.21.ค.31.ข.41.ง.
2.ข.12.ค.22.ข.32.ก.42.ข.
3.ค.13.ง.23.ค.33.ข.43.ง.
4.ค.14.ก.24.ข.34.ก.44.ก.
5.ก.15.ค.25.ก.35.ง.45.ค.
6.ข.16.ง.26.ก.36.ข.46.ก.
7.ค.17.ข.27.ง.37.ก.47.ง.
8.ข.18.ข.28.ก.38.ก.48.ก.
9.ค.19.ค.29.ก.39.ก.49.ข.
10.ค.20.ก.30.ค.40.ข.50.ข.  

เนื้อหา
ที่เกี่ยวข้อง