ข้อสอบ Onet ภาษาไทย ม.ต้น

วันที่โพสต์

หมวดหมู่

ตัวอย่างแนวข้อสอบ ONET วิชาภาษาไทย ชั้น ม.ต้น จำนวน 30 ข้อ สำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาแนวข้อสอบโอเน็ต พร้อมเฉลย

1. การใช้ระดับเสียงให้มีความแตกต่างกันในขณะที่อ่าน มีประโยชน์ต่อการอ่านเนื้อหาสาระในข้อใดมากที่สุด

      ก. นิทาน

      ข. ปาฐกถา

      ค. แถลงการณ์

      ง. พระบรมราโชวาท

2. ประโยคในข้อใดอ่านออกเสียงไม้ยมกแตกต่างจากข้ออื่น

      ก. เธอเห็นลูกแมวตัวสีดำ ๆ วิ่งมาทางนี้บ้างหรือไม่

      ข. เด็กตัวเล็ก ๆ เมื่อตะกี้ เป็นหลานชายของฉันเอง

      ค. ในวันหนึ่ง ๆ ป้าแกต้องอาบเหงื่อต่างน้ำหาบของไปขายทุกวัน

      ง. ทุก ๆ วัน แถวนี้จะเต็มไปด้วยรถนานาชนิดที่ทำให้การจราจรคับคั่ง

3.   ข้อความใดแบ่งจังหวะวรรคตอนในการอ่านได้ถูกต้อง

      ก.   มีคน/จำนวนไม่น้อย/เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่จัดการได้//จัดการในที่นี้หมายถึง/

      ข. เราเชื่อว่า/ทุกอย่างจัดการได้/เพราะเรามีเทคโนโลยี/เรามีเงิน/เรามีความรู้/เราจึงมั่นใจว่า/เราสามารจัดการสิ่งต่างๆ ได้

      ค. เราสามารถจัดการธรรมชาติ/เราสามารถจัดการสังคม/และเราเชื่อว่า/เราสามารถจัดการร่างกายของเราได้

      ง. โฆษณาทุกวันนี้/บอกเราว่าทุกอย่างจัดการได้//เราจึงเชื่อจริงๆ ว่า/ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จัดการไม่ได้/ รวมทั้งความตาย

4. ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับการอ่านจับใจความสำคัญ

      ก. การจับใจความสำคัญเป็นทักษะเบื้องต้นของการรับสาร

      ข. ใจความสำคัญคือความคิดสำคัญหรือประเด็นสำคัญของเรื่อง

      ค. การจับใจความสำคัญสามารถทำได้ทั้งการรับสารด้วยการอ่านและการฟัง

      ง. การจับใจความสำคัญด้วยการฟังไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมก่อนการฟัง

5.   “ท้องฟ้ามีอยู่แบบท้องฟ้า ก้อนเมฆลอยอยู่แบบก้อนเมฆ พระอาทิตย์สาดแสงในแบบของพระอาทิตย์                 นกร้องแบบที่มันร้อง ดอกไม้สวยงามเป็นธรรมชาติของดอกไม้ ลมพัดเพราะมันคือลม หอยทากเดินช้าอย่างที่หอยทากเป็น เหมือนธรรมชาติกำลังกระซิบบอกฉันว่ามันเพียงเป็นของมันอย่างนั้น มันไม่ร้องขอ ฉันจะมองเห็นมัน หรือไม่เห็นมัน มันไม่เรียกร้องให้ต้องชื่นชม ต้องแลกเปลี่ยน ต้องขอบคุณ เป็นของมันอย่างนั้น ไม่ได้ต้องการอะไร มันเพียงแต่เป็นไป ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของมัน” ใจความสำคัญของข้อความนี้ตรงกับข้อใด

      ก. ธรรมชาติไม่เคยสนใจมนุษย์

      ข. ธรรมชาติไม่เคยเรียกร้องอะไรจากมนุษย์

      ค. ธรรมชาติไม่ต้องการคำชื่นชมจากมนุษย์

      ง. ทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติ ล้วนมีความสวยงาม

6.   คำในข้อใดมีความหมายอ้อม

      ก. น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา

      ข. อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย

      ค. โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก ให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม

      ง. ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

7.   ข้อใดสำคัญที่สุดในการเขียนกรอบความคิด

      ก. การจับใจความสำคัญ

      ข. การลากเส้นโยงนำความคิด

      ค. การกำหนดรูปแบบในการนำเสนอ

      ง. การใช้ภาพหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง

8.   “คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว ยังคงอยากได้อะไรที่มากขึ้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียงหรือความรัก และก็มักจะไม่ได้ดังใจนึก ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้นตามวัยที่มากขึ้นด้วย” ใจความสำคัญของ  ข้อความนี้ตรงกับข้อใด

      ก. ความอยากของมนุษย์เพิ่มตามอายุ

      ข. คนเราเมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้น

      ค. ถ้ามนุษย์อยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ก็จะยิ่งมีแต่ความทุกข์

      ง. ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากความต้องการในทรัพย์สิน เงินทอง

9.   ข้อใดให้ความหมายของคำว่า “วิเคราะห์” ได้ถูกต้องที่สุด

      ก. พิจารณาความหมายแฝงเร้นของเรื่อง

      ข. พิจารณาเจตนาหรือแนวคิดสำคัญของเรื่อง

      ค. พิจารณาย่อหน้าเพื่อจับสาระสำคัญของเรื่อง

      ง. พิจารณาแยกแยะองค์ประกอบแต่ละส่วนภายในเรื่อง

10.   “ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์                     บำรุงรักกายไว้ให้เป็นผล

         สงวนงามตามระบอบไม่ชอบกล            จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา”

      ข้อคิดที่ได้รับจากบทร้อยกรองข้างต้นตรงกับข้อใด

      ก. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว

      ข. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว

      ค. เป็นผู้หญิงต้องงดเว้นการนินทาว่าร้าย

      ง. เป็นผู้หญิงต้องแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

11.   ข้อใดเป็นวิธีการอ่านตีความร้อยกรอง

      ก. ตีความจากสาระสำคัญของเรื่อง

      ข. ตีความถ้อยคำโดยพิจารณาจากบริบท

      ค. ตีความข้อความโดยเปรียบเทียบสำนวนโวหารที่ใช้

      ง. ตีความโดยทำความเข้าใจเรื่องภาษาภาพพจน์ที่ใช้ในงานเขียน

12.   ข้อใดเรียงลำดับถูกต้อง

      ก. เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า

      ข. เล่าเรื่อง บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท ประเมินค่า

      ค. เล่าเรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง ประเมินค่า

      ง. เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า

13.   การอ่านวินิจสารมีความลึกซึ้งแตกต่างจากการอ่านจับใจความสำคัญในประเด็นใด

      ก. การสรุปเนื้อหา

      ข. การบอกประเภท

      ค. การประเมินคุณค่า

      ง. การบอกองค์ประกอบ

14.   ข้อใดปรากฏคำที่มีความหมายโดยนัย

      ก. ปฐมพงษ์เดินไปที่ห้องครัวแล้วลื่นล้มเตะแก้วแตก

      ข. กระโปรงตัวนี้ตัดเย็บสวยเตะตาฉันจริง ๆ เชียว! เธอ

      ค. โด่งซ้อมเตะฟุตบอลที่สนามกีฬาของโรงเรียนทุก ๆ เย็น

      ง. จ้อยเตะสุนัขที่กำลังจะเดินตรงเข้ามากัดที่โคนขาของเขา

15.   จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการคัดลายมือตรงกับข้อใด

      ก. ฝึกฝนสมาธิให้แก่ตนเอง

      ข. ฝึกฝนความเพียรพยายามให้แก่ตนเอง

      ค. เพื่อสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบตัวอักษรไทย

      ง. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติ

16.   การระบุว่าข้อความหนึ่ง ๆ คัดด้วยอักษรรูปแบบใด ข้อใดคือจุดสังเกตสำคัญ

      ก. การเว้นช่องไฟ

      ข. โครงสร้างของตัวอักษร

      ค. การลงน้ำหนักมือบนตัวอักษร

      ง. ความเสมอต้นเสมอปลายของตัวอักษร

17.   ลายมือที่ไม่ชัดเจนเป็นผลเสียอย่างไร

      ก. ทำให้งานเขียนไม่น่าสนใจ

      ข. ทำให้วิเคราะห์ผลงานไม่ได้

      ค. ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร

      ง. ทำให้สื่อสารไม่ตรงวัตถุประสงค์

18.    รูปประโยคต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง

      ก. เขาทำอะไรเก้งก้างไม่ทันกิน

      ข. ตำรวจกำลังซักฟอกผู้ต้องหา

      ค. พจน์ร้องเพลงเสียงหวานปานนกการเวก

      ง. ออมเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่

19.    “ชุ่มคอโดนใจ” เป็นงานเขียนประเภทใด

      ก. คำคม

      ข. คำขวัญ

      ค. โฆษณา

      ง. คำแนะนำ

20.    ถ้าต้องเขียนจดหมายเรียนเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อที่กำหนด ภาษาที่ใช้ในการเขียน ควรมีลักษณะอย่างไร

      ก. ข้อความสั้นกะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ

      ข. ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย แต่อ่านเข้าใจง่าย

      ค. ภาษาแบบแผน ใช้ศัพท์วิชาการสูงๆ

      ง. ภาษากึ่งแบบแผนหรือแบบแผน สร้างความประทับใจให้ผู้รับเชิญยินดีทำตามคำขอ

21. ข้อใดเป็นการเขียนอวยพร

      ก. จงเชื่อในความดี

      ข. ขอให้มีความสุข

      ค. ซ่าโดนใจ

      ง. จงทำดี

22. การเขียนเรียงความเรื่อง “กล้วยพันธุ์ไม้สารพัดประโยชน์” โครงเรื่องข้อใดจำเป็นน้อยที่สุด

      ก. ลักษณะของกล้วย

      ข. ประเภทของกล้วย

      ค. ประโยชน์ของกล้วย

      ง. ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย

23. ข้อใดที่ต้องเขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของโครงงาน

      ก. ข้อเสนอแนะ

      ข. ที่มาของโครงงาน

      ค. สรุปและอภิปรายผล

      ง. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

24. หากมีข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพของคนในท้องถิ่น ควรเลือกจัดทำโครงงานประเภทใด

      ก. ทฤษฎี

      ข. สำรวจ

      ค. ทดลอง

      ง. ประดิษฐ์

25.    บุคคลใดมีมารยาทในการเขียนที่ไม่เหมาะสม

      ก. สุมิตราใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไพเราะในการเขียนสื่อสาร

      ข. แก้วตาเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ เหมาะสมกับระดับของผู้อ่าน

      ค. สมปรารถนาค้นคว้าข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายก่อนลงมือเขียน

      ง. ลีลาศึกษางานเขียนของผู้อื่น แล้วลงมือเขียนโดยคัดลอกข้อความนั้นๆ มา เพื่อแสดงหลักฐานการค้นคว้า

26.    ข้อควรปฏิบัติในการเขียนโต้แย้งตรงกับข้อใด

      ก. การจับใจความสำคัญ

      ข. การใช้ภาษาในการถ่ายทอด

      ค. การกำหนดขอบเขตประเด็น

      ง. แสดงข้อบกพร่องทรรศนะของอีกฝ่าย

27.    บุคคลใดให้ข้อมูลสำหรับการเขียนแนะนำตนเองได้เหมาะสมน้อยที่สุด

      ก. วราภรณ์บอกชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อายุ ของตนเองให้เพื่อนๆ ฟัง

      ข. ไมตรีบอกอุปนิสัยส่วนตัวและงานอดิเรกที่ชอบทำหากมีเวลาว่าง

      ค. นวียาบอกสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จ จากธุรกิจส่งออก

      ง. ปฐมพงษ์บอกอาชีพของบิดา มารดา และสาเหตุที่ต้องย้ายจากโรงเรียนเดิม

28.    อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วระบุว่าเป็นการเขียนที่มีวัตถุประสงค์อย่างไร

 “มะรุมจอมพลัง คนเรารู้จักใช้มะรุมเป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ มานานหลายร้อยปีแล้ว อีกทั้งปัจจุบันยังได้รับการกล่าวขวัญถึงว่า อาจเป็นทางออกหนึ่งในการรับมือกับความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ พืชทนแล้งที่เติบโตเร็วในอัตราสูงถึง 3.6 เมตรต่อปี ชนิดนี้มีใบอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่”

      ก. การเขียนโน้มน้าวให้เชื่อ

      ข. การเขียนเพื่อให้ความบันเทิง

      ค. การเขียนเพื่อให้ความรู้

      ง. การเขียนเพื่อชี้แจง

29.    ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะการเขียนเรียงความน้อยที่สุด

      ก. การเลือกใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างลีลาการเขียนของตนเอง

      ข. การเขียนข้อความในแต่ละส่วนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน

      ค. การเลือกใช้ถ้อยคำที่มีความกระชับ ชัดเจน สื่อความตรงไปตรงมา

      ง. ควรวางโครงเรื่องเพื่อให้การจัดลำดับความคิดในการนำเสนอเป็นไปโดยสมบูรณ์

30.    การอ่านในข้อใดที่ไม่ควรใช้หลักการย่อความ

      ก. การอ่านโฆษณาจากหนังสือพิมพ์

      ข. การอ่านสารคดีเชิงท่องเที่ยวจากจุลสาร

      ค. การอ่านบทความเชิงอนุรักษ์จากนิตยสาร

      ง. การอ่านขั้นตอนการประดิษฐ์จากนิตยสารรายปักษ์

เฉลยข้อสอบ

ข้อคำตอบข้อคำตอบ
1.16.
2.17.
3.18.
4.19.
5.20.
6.21.
7.22.
8.23.
9.24.
10.25.
11.26.
12.27.
13.28.
14.29.
15.30.