ข้อสอบวิชาภาษาไทย เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ชั้น ม.2 จำนวน 20 ข้อ พร้อมเฉลย
1) กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ผู้เรียบเรียงกถามุขคือใคร
ก. เสถียรโกเศศ
ข. นาคาประทีป
ค. พระยาอุปกิตศิลปสาร
ง. ทุกคนช่วยกันเรียบเรียง
2) Elogy ราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำในภาษาไทยว่าอะไร
ก. บทร้อยกรองกำสรด
ข. บทรำพึงรำพันในป่าช้า
ค. ความอาลัยอาวรณ์
ง. ความรำลึกถึงคนรัก
3) Thomas Gray เป็นชาวอะไร
ก. อเมริกา
ข. รัสเซีย
ค. อังกฤษ
ง. อิตาลี
4) ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. กวีนิพนธ์ของ Thomas Gray เขียนขึ้นที่โรงนาเก่าๆ แห่งหนึ่งของเมือง Stoke Pages
ข. กวีนิพนธ์ของ Thomas Gray เขียนขึ้นที่สุสานเก่าๆ แห่งหนึ่งของเมือง Stoke Pages
ค. กวีนิพนธ์ของ Thomas Gray เขียนขึ้นที่ริมสะพานเก่าๆ แห่งหนึ่งของเมือง Stoke Pages
ง. กวีนิพนธ์ของ Thomas Gray เขียนขึ้นที่ในบ้านเก่าๆ แห่งหนึ่งของเมือง Stoke Pages
5) ข้อใดมิใช่นามแฝงของพระยาอุปกิตศิลปะสาร
ก. อ.น.ก.
ข. ม.ห.น.
ค. อุนิกา
ง. มัลลิกา
6) สยามไวรากรณ์ที่พระยาอุปกิตศิลปสารเขียนไว้เป็นตำรา คือข้อใด
ก. อักษรสมัย ไวยกรณ์ไทย หลักภาษาไทย
ข. อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ การใช้ภาษา
ค. อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์
ง. วาหนิติกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน พิศาลการันต์
7) ข้อใดคือคุณค่าในด้านเนื้อหาของบทรำพึงในป่าช้า
ก. มีการพบกันก็มีการจากกันเป็นของธรรมดา
ข. ที่ใดมีรักที่นั่นเป็นทุกข์
ค. ความว้าเหว่ทำให้มีพลังเขียนบทกวี
ง. มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญ หรือชนสามัญไม่มีผู้ใดหลึกหนีความตายได้
8) “ยามเอ๋ยยามนี้ ปถพีมืดมัวทั่วสถาน
อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิกาล สงัดปานป่าใหญ่ไร้สำเนียง
ก็มีแต่จังกรีดกระกรีดกริ่ง! เรไรหริ่ง! ร้องขรมระงมเสียง
คอกควายวัวรัวเกราะเปาะเปาะ!เพียง รู้ว่าเสียงเกาะแว่วแผ่วแผ่วเอย”
ความดีเด่นของบขทประพัทธ์นี้คือข้อใด
ก. เสียงสัมผัสไพเราะ เสนาะเสียงสื่อสาร โวหารพรรณนา
ข. ถ้อยคำกินใจ ไพเราะถ้อยคำ เลิศล้ำบรรยาย
ค. ภาพพจน์เด่นชัด เน้นคำสัมผัส ประหยัดถ้อยคำ
ง. เสียงคำไพเราะ คำเหมาะชัดถ้อย เรียงร้อยสัมผัส
9) “ยืดหางยามยักไปตามใจจินต์ หางยามผินตามใจเพราะใครเอย” ข้อความนี้กล่าวถึงข้อใด
ก. ชาวนา
ข. คนระวังเหตุการณ์
ค. คนเฝ้าป่าช้า
ง. เวลารุ่งอรุณ
10) หางยาม หมายถึงข้อใด
ก. หางวัวควาย
ข. หางเปีย
ค. เรือชนิดหนึ่ง
ง. หางไถตอนที่มือถือ
11) “เพื่อรักษาความสราญฐานวิเวก ร่มซื้อเฉกหุบเขาลำเนาไศล
สันโดษดับฟุ้งซ่านทะยานใจ ตามวิสัยชาวนาเย็นกว่าเอย”
ข้อความนี้กล่าวถึงความเป็นอยู่ของชาวนาอย่างไร
ก. มีความคิดฟุ้งซ่าน
ข. ชอบอยู่ตามหุบเขาลำเนาไพร
ค. มีความทะเยอทะยายใฝ่สูง
ง. มีความพอใจเท่าที่ตนเป็นอยุ่
12) ข้อใดเป็นการถามโดยไม่ต้องการคำตอบ
ก. ไม่เกรงใครนินทาว่าประจาน ไม่มีการจารึกบันทึกคุณ
ข. ไม่มีใครได้เชยเลยสักคน ย่อมบานหล่นเปล่าตายมากมายเอย
ค. เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร ใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน
ง. ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์ นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้รักษา
13) พระยาอุปกิตศิลปสารได้ปรับเปลี่ยนการอ้างถึงบุคคล เช่น นักการเมืองผู้มีชื่อเสียงในการต่อสู้เพื่อท้องถิ่นของตน ข้อใดสัมพันธ์กับข้อความนี้ง
ก. ซากเอ๋ยซากศพ อาจเป็นซากนับรบผู้กล้าหาญ
ข. เช่นชาวบ้านบางระจันขันรำบาญ กับหมู่ม่านมาประทุษอยุธยา
ค. ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์ นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้ภาษา
ง. หรือผู้กู้บ้านเมืองเรืองปัญญา อาจจะมานอนจมถมดินเอย
14) “เขาเป็นสุขเรียบเรียบเงียบสงัด มีปวัตน์เป็นไปไม่วิตถาร
ขออย่าได้เย้ยเยาะพูดเพราะราน ดูหมิ่นการเป็นอยู่เพื่อนตูเอย”
ข้อความนี้ผู้ประพันธ์ขอให้อย่าเยาะเย้ยใคร
ก. คนจน
ข. ครู
ค. ศพพวกไพร่
ง. ชาวนา
15) “ ทอดเอ๋ยทอดทิ้ง ยาวหนาวผิงไฟล้อมอยู่พร้อมหน้า
ทิ้งเพื่อนยากแม่เหย้าหาข้าวปลา ทุกเวลาเช้าเย็นเป็นนิรันดร์
ทิ้งทั้งหนูน้อยน้อยน้อยร่อยร่อยรับ เห็นพ่อกลับปลื้มเปรมเกษมสันต์
เข้ากอดคอฉอเลาะเสนาะกรรณ สารพันทอดทิ้งทุกสิ่งเอย ”
ข้อความใดบ้างถูกทอดทิ้ง
ก. เพื่อน ลูก ภรรยา
ข. ภรรยา เวลา ลูก
ค. พ่อ แม่ ลูก
ง. หน้าหนาว เวลาเช้า เวลาเย็น
16) ข้อใดให้ความเสนาะของเสียงเป็นเครื่องมือสื่อสารเอาไว้
ก. ทั้งไก่ขันแข่งดุเหล่าระเร้าเสียง
ข. เรไรหริ่งร้องขรมระงมเสียง
ค. คอกควายวัวรัวเราะเปาะเปาะเสียง
ง. ไม่มีใครขึ้นชื่อระบือขาน
17) ข้อใดเตือนให้เรารู้จักปลงสังขาร
ก. อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์ ความงามนำให้มีไมตรีกัน
ข. แห่งหลุมลึกลานสลดระทดใจ เรายิ่งใกล้หลุมนั้นทุกวันเอย
ค. หมดวิตกหมดเสียดายหมดหมายปอง ไม่ผิงหลังเหลียวมองด้วยซ้ำเอย
ง. ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล และทิ้งตนดูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย
18) ข้อใดมีความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
ก. อยู่บนยอดหอระฆังบังแสงจันทร์ มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา
ข. ย่อมละชีพเคยสุขสนุกสบาย เคยเสียดายเคยวิตกเคยปกครอง
ค. ลงในเพลงเกียรติศักดิ์ประจักษ์ดัง เปลวเพลิงปลั่งหอมกลบตลบเอย
ง. พอเตือนใจได้บ้างในทางบุญ เป็นเครื่องหนุนนำเหตุสังเวชเอย
19) จากข้อ 18 ข้อใดใช้อุปมาโวหาร
ก. ข้อ ก
ข. ข้อ ข
ค. ข้อ ค
ง. ข้อ ง
20) “ล้วนร่างคนในเขตประเทศนี้ ดุษฎีนอนราย ณ ภายใต้”
ก. ชาวไร่ชาวนา
ข. วีรชน
ค. นักรบ
ง. นักปราชญ์
เฉลยข้อสอบ
ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ |
1 | ข. | 11 | ง. |
2 | ก. | 12 | ค. |
3 | ค. | 13 | ข. |
4 | ข. | 14 | ง. |
5 | ง. | 15 | ก. |
6 | ค. | 16 | ค. |
7 | ง. | 17 | ข. |
8 | ก. | 18 | ง. |
9 | ก. | 19 | ค. |
10 | ง. | 20 | ก. |