ข้อสอบวิชาภาษาไทย เรื่อง อิศรญาณภาษิต ชั้น ม.2 จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย
1) อิศรญาณภาษิต แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด
ก. นิราศ
ข. ร่ายสุภาพ
ค. กลอนเพลงยาว
ง. กลอนดอกสร้อย
2) เหตุผลในการแต่งอิศรญาณภาษิต คืออะไร
ก. แต่งเพื่อเปรียบเทียบสุภาษิตพระร่วง
ข. แต่เพื่อใช้สั่งสอนศิษย์ที่บวชอยู่ในวัด
ค. ต้องการแต่งบทร้อยกรองที่มีลักษณะเป็นเพลงยาว
ง. แต่งเพื่อระบายความน้อยพระทัยที่ถูกกล่าวหาว่าผิดปกติ
3) “เพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่ง ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ” ข้อความนี้ตรงกับสำนวณใด
ก. วานรได้แก้ว
ข. ลิงหลอกเจ้า
ค. กิ้งก่าได้ทอง
ง. ทองลู่กระเบื้อง
4) จากคำตอบข้อ 3. มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ไม่รู้คุณค่าของสิ่งของ
ข. สิ่งของที่ได้มาไม่มีคุณค่า
ค. สำคัญกว่าสิ่งของที่ได้มาเป็นของมีค่ายิ่ง
ง. สิ่งของที่ได้มาไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
อ่านบทร้อยกรองแล้วตอบคำถามข้อ 5 – 7 |
---|
“คนสามขามีปัญญาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา” |
5) บทร้อยกรองนี้สอนเรื่องใด
ก. ให้เชื้อฟังผู้ใหญ่
ข. ให้รู้จักประมาณตน
ค. รู้จักคิดไตร่ตรอง
ง. รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
6) บทร้อยกรองนี้ตรงกับสำนวนใด
ก. อาบน้ำร้อนมาก่อน
ข. สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
ค. รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
ง. เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด
7) “คนสามขา” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. คนแก่
ข. คนพิการ
ค. คนเขลา
ง. คนฉลาด
8) “วาสนาไปคู่เคียงเถียงเขายาก ถึงมีปากมีเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย”
บทร้อยกรองนี้มีลักษณะเด่นตามข้อใด
ก. เล่นคำ
ข. เล่นสัมผัส
ค. ใช้โวหารเปรียบเทียบ
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูกต้อง
9) จากบทร้อยกรองข้อที่ 8. กล่าวถึงสิ่งใด
ก. ผู้น้อยควรอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใด
ข. แข่งเรือแข่งได้แต่แข่งบุญแข่งวาสนานั้นทำได้ยาก
ค. การโต้แย้งควรอยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผล
ง. ผู้มีบารมีน้อยจะออกสิทธิ์ออกเสียงก็ไม่มีใครสนใจ
10) “ต่อผู้ดีมีปัญญาจึงหารือ ให้เหลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร”
ข้อความที่พิมพ์ตัวหนามีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ให้คนร่ำลือว่าเป็นคนร่ำรวย
ข. ให้คนร่ำลือว่าเป็นผู้กล้าหาญ
ค. ให้คนลือว่าเป็นผู้สุจริตในอาชีพ
ง. ให้คนร่ำลือว่ามีปัญญาราวกับมีเพชรมากพอที่จะอวดได้
ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ |
1 | ค. | 6 | ง. |
2 | ง. | 7 | ก. |
3 | ก. | 8 | ค. |
4 | ก. | 9 | ง. |
5 | ก. | 10 | ง. |