ข้อสอบวิชาภาษาไทย เรื่อง สามก๊ก ตอนจิวยี่ซ้อนกลโจโจ ชั้น ม.2 จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย
1) เรื่อง สามก๊ก ตอนจิวยี่ซ้อนกลโจโจ แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
ก. บทละครนอก
ข. จดหมายเหตุ
ค. ความเรียงร้อยแก้ว
ง. สารคดีเชิงชีวประวัติ
2) สามก๊ก ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่ามีความดีเด่นในด้านใด
ก. เป็นยอดของบทละครพูด
ข. เป็นยอดของวรรณคดีแปล
ค. เป็นยอดของความเรียงนิทาน
ง. เป็นยอดของความเรียงอธิบาย
3) เรื่อง สามก๊ก สำนวนคำที่นำมาให้ศึกษาเป็นบทประพันธ์ของใคร
ก. ยาขอบ
ข. พระยาอุปกิตศิลปสาร
ค. พระมหามนตรี (ทรัพย์)
ง. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
4) “สามก๊ก” หมายถึงข้อใด
ก. ก๊กโจโฉ ก๊กโจผี ก๊กจูล่ง
ข. ก๊กเล่าปี่ ก๊กซุนกวน ก๊กโจผี
ค. ก๊กโจโฉ ก๊กซุนกวน ก๊กเล่าปี่
ง. ก๊กจูล่ง ก๊กเตียวหุย ก๊กซุนกวน
5) อุยกาย เปรียบเทียบทหารของโจโฉว่าอย่างไร
ก. อ่อนแอ
ข. มีเหตุมีผล
ค. กล้ากาญ เด็ดเดี่ยว
ง. เข้มแข็ง เป็นปึกแผ่น
6) อุยการเปรียบเทียบทหารของจิวยี่ ว่าอย่างไร
ก. มีน้อย อ่อนแอ
ข. มั่นคง กล้าหาญ
ค. กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว
ง. เข้มแข็ง เป็นปึกแผ่น
7) “โจโฉ ได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดีจึงชวนงำเต๊กกินโต๊ะอยู่” คำที่พิมพ์ตัวหนาหมายความว่าอย่างไร
ก. กินเลี้ยง
ข. รุมทำร้าย
ค. เล่นการพนัน
ง. รุมล้อมเข้ามา
8) “ตัวเราบัดนี้ก็มีแต่ชีวิตคิดจะให้ลือชาปรากฏไว้ในแผ่นดิน จะอาสาไปคิดอ่านล่อลวง โจโฉให้ได้ถึงมาตรว่าโจโฉรู้จะมาเสียก็ตามเถิด ขอแต่ให้มีชื่อปรากฏไว้” ผู้พูด พูดด้วยความรู้สึกใด
ก. ประชดประชัน
ข. กำเริบเหิมเกริม
ค. มุ่งมั่นที่จะทำงาน
ง. ท้อแท้เบื่อหน่ายชีวิต
9) สำนวนในข้อใดไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ก. อันน้ำใจโจรนั้นริกผู้มีสติปัญญาจะใครสนทนาด้วย
ข. ครั้งนี้ข้าพเจ้าจะขออาสาแก้ตัวไปสืบเอาข้อราชการมาให้แจ้ง
ค. ใช่จะจริงเหมือนปากนั้นมามิได้ เพราะมิได้เอาครอบครัวมาด้วย
ง. แม้นมหาอุปราชจะยกกองทัพมารวมจิวยี่เมื่อใดกำเหลงก็จะคุมทหารออกดีระหนาบจิวยี่
10) ข้อใดใช้โวหารอุปมา
ก. งำเต๊กเอาหนังสือส่งให้โจโฉก็รับเอามาฉีกผนึกออกอ่านดู
ข. ฝ่ายเจียวก้านนั้นติดว่าน้ำใจจิวยี่มิได้เป็นปกติเหมือนแต่ก่อน
ค. ฝ่ายอุยกายซึ่งต้องโบยมานั้นนอนอยู่ ณ ค่ายคนทั้งปวงไปเยือนถามข่าวเป็นอันมาก
ง. งำเต๊กทำเป็นดีใจลุกขึ้นคำนับเข้ากอดเอาซัวต๋ง ซิวโฮ แล้วว่าซึ่งท่านทั้งสองว่านี้อุปมาเหมือนเทพยดาเข้าดลใจให้มาช่วยเรา
เฉลยข้อสอบ
ข้อ | คำตอบ | ข้อ | คำตอบ |
1 | ค. | 6 | ก. |
2 | ค. | 7 | ก. |
3 | ง. | 8 | ค. |
4 | ข. | 9 | ค. |
5 | ง. | 10 | ง. |