ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ม.3 ตามตัวชี้วัด

วันที่โพสต์

หมวดหมู่

ข้อสอบ วิชา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับชั้น ม.3 จำนวน 20 ข้อ พร้อมเฉลย และตัวชี้วัดรายข้อ

1.  ให้สาร A ทำปฏิกิริยากับสาร B 10 กรัม ในบีกเกอร์ที่มีฝาปิด เกิดเป็นสาร C จำนวน 12 กรัม และแก๊ส D 8 กรัม ถ้าการทดลองนี้เป็นไปตามกฎทรงมวลแสดงว่าปฏิกิริยานี้ใช้สาร A กี่กรัม (มฐ. ว 2.1 ม.3/4)

      1.  8 กรัม                                              2.  10 กรัม

      3.  12 กรัม                                            4.  20 กรัม

2.  สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) 1.56 กรัม ทำปฏิกิริยากับเลด (II) ไนเตรต 1.66 กรัม ได้เป็นโพแทสเซียมไนเตรต (KNO3) และเลด (II) ไอโอไดด์ ถ้ามีโพแทสเซียมไนเตรตเกิดขึ้น 2.4 กรัม อยากทราบว่ามีเลด (II) ไอโอไดด์เกิดขึ้นกี่กรัม (มฐ. ว 2.1 ม.3/4)

      1.  0.10 กรัม                                          2.  0.82 กรัม

      3.  1.56 กรัม                                          4.  3.22 กรัม

3.  การละลายของโซเดียมไฮดรอกไซด์นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบใด (มฐ. ว 2.1 ม.3/5)

      1.  การเปลี่ยนแปลงแบบดูดอุณหภูมิ              

      2.  การเปลี่ยนแปลงแบบคายอุณหภูมิ

      3.  การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน            

      4.  การเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน

4.  ปฏิกิริยาเคมีที่มีการถ่ายเทพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อมเรียกว่าอะไร (มฐ. ว 2.1 ม.3/5)

      1.  ปฏิกิริยาออกซิเดชัน                              2.  ปฏิกิริยาการเผาไหม้

      3.  ปฏิกิริยาดูดความร้อน                            4.  ปฏิกิริยาคายความร้อน

5.  แก๊สแอมโมเนียสลายตัวดังสมการต่อไปนี้

2NH3(g) + 93 kJ → N2(g) + 3H2(g)

      ปฏิกิริยานี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบใด (มฐ. ว 2.1 ม.3/5)

      1.  การเปลี่ยนแปลงแบบดูดอุณหภูมิ              

      2.  การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน

      3.  การเปลี่ยนแปลงแบบคายอุณหภูมิ             

      4.  การเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน

6.  X + กรด → สาร + H2O + CO2 จากสมการ สาร X ควรเป็นสารใด (มฐ. ว 2.1 ม.3/6)

      1.  น้ำ                                                  2.  เบส

      3.  โลหะ                                               4.  หินปูน

7.  การทดลองใดเกิดแก๊สชนิดเดียวกัน (มฐ. ว 2.1 ม.3/6)

การทดสอบสารตั้งต้น
1สังกะสี + กรดซัลฟิวริก
2หินปูน + กรดไฮโดรคลอริก
3กรดเกลือ + โซดาไฟ

      1.  การทดลองที่ 1 และ 2                          

      2.  การทดลองที่ 1 และ 3

      3.  การทดลองที่ 2 และ 3                          

      4.  ไม่มีการทดลองใดที่เกิดแก๊สชนิดเดียวกัน

8.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดสนิม (มฐ. ว 2.1 ม.3/6)

      1.  สนิมเกิดขึ้นได้กับโลหะทุกชนิด

      2.  แก๊สต่าง ๆ ในอากาศสามารถทำให้เกิดสนิมได้

      3.  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสนิม คือ น้ำและอากาศ

      4.  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสนิม

9.  ช้อนอะลูมิเนียมเมื่อใช้ไปนาน ๆ ผิวจะไม่มันวาวเหมือนตอนแรก ๆ เพราะเหตุใด (มฐ. ว 2.1 ม.3/7)

      1.  อะลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับกรด                 

      2.  อะลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับเบส

      3.  อะลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน      

      4.  อะลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับแก๊สไฮโดรเจน

10.  วิธีแก้ปัญหาของใครที่ไม่ได้เกิดจากการบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี (มฐ. ว 2.1 ม.3/8)

      1.  ก้านให้รปภ.หมู่บ้านโทรมาบอกเมื่อรถขายไอศกรีมกำลังจะเข้าหมู่บ้าน

      2.  แก้วเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเข้ากับกล้องวงจรปิดในห้องของลูกเพื่อใช้ดูลูกในเวลากลางคืน

      3.  กล้าตั้งเวลาและอุปกรณ์เปิด-ปิดอัตโนมัติไว้ที่ขวดอาหารเพื่อให้อาหารแมวในเวลาที่ไปต่างจังหวัด

      4.  เก่งติดเซนเซอร์รับแสงที่ราวตาผ้าเพื่อให้สามารถหดเก็บเข้าที่ร่มได้เมื่อมีฝนตกตอนไม่มีคนอยู่บ้าน

11.  ถ้าต้องการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าควรใช้เครื่องมือชนิดใดและต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าอย่างไร (มฐ. ว 2.3 ม.3/3)

      1.  แอมมิเตอร์ต่อแบบขนานกับวงจร              

      2.  โวลต์มิเตอร์ต่อแบบขนานกับวงจร

      3.  แอมมิเตอร์ต่อแบบอนุกรมกับวงจร            

      4.  โวลต์มิเตอร์ต่อแบบอนุกรมกับวงจร

12.  ถ้าต้องการวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าควรใช้เครื่องมือชนิดใดและต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าอย่างไร (มฐ. ว 2.3
ม.3/3)

      1.  แอมมิเตอร์ต่อแบบขนานกับวงจร              

      2.  โวลต์มิเตอร์ต่อแบบขนานกับวงจร

      3.  แอมมิเตอร์ต่อแบบอนุกรมกับวงจร            

      4.  โวลต์มิเตอร์ต่อแบบอนุกรมกับวงจร

13.  ข้อใดแสดงถึงกฎของโอห์ม (มฐ. ว 2.3 ม.3/1)

      1.  ความต้านทานแปรผันตรงกับชนิดของสาร

      2.  กำลังไฟฟ้าเป็นอัตราส่วนของพลังงานที่ใช้กับเวลา

      3.  ความจุไฟฟ้า คือ อัตราส่วนของประจุไฟฟ้ากับความต่างศักย์

      4.  ความต่างศักย์เท่ากับผลคูณของกระแสไฟฟ้ากับความต้านทาน

14.  กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าดังรูป หากต้องการหาความต้านทานจะต้องทำอย่างไร (มฐ. ว 2.3 ม.3/2)

      1.  ใช้พื้นที่ใต้กราฟ                                   2.  ใช้จุดตัดบนแกน X

      3.  ใช้จุดตัดบนแกน Y                                4.  ใช้ความชันของกราฟ

15.  ถ้าต่อตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทาน 36 โอห์ม เข้ากับความต่างศักย์ 12 โวลต์ ตัวต้านทานดังกล่าวจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านกี่แอมแปร์ (มฐ. ว 2.3 ม.3/1)

      1.  0.03 แอมแปร์                                     2.  0.33 แอมแปร์

      3.  3.33 แอมแปร์                                     4.  33.3 แอมแปร์

16.  วัดกระแสไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับความต่างศักย์ 220 โวลต์ ได้เท่ากับ 0.01 แอมแปร์ ตัวต้านทานนี้มีค่าความต้านทานเป็นเท่าไร (มฐ. ว 2.3 ม.3/1)

      1.  20 โอห์ม                                           2.  220 โอห์ม

      3.  2,200 โอห์ม                                       4.  22,000 โอห์ม

พิจารณาวงจรไฟฟ้าต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 77-80

17.  จากรูป ความต้านทานรวมมีค่าเท่าไร (มฐ. ว 2.3 ม.3/4)

      1.  2 โอห์ม                                            2.  3 โอห์ม

      3.  4 โอห์ม                                            4.  5 โอห์ม

18.  กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 1 โอห์ม มีค่าเท่าไร (มฐ. ว 2.3 ม.3/4)

      1.  1 แอมแปร์                                         2.  2 แอมแปร์

      3.  3 แอมแปร์                                         4.  4 แอมแปร์

19.  กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน 6 โอห์ม มีค่าเท่าไร (มฐ. ว 2.3 ม.3/4)

      1.   แอมแปร์                                       2.   แอมแปร์

      3.   แอมแปร์                                       4.  1 แอมแปร์

20.  ความต่างศักย์ที่คร่อมตัวต้านทาน 2 แอมแปร์ มีค่าเท่าไร (มฐ. ว 2.3 ม.3/4)

      1.  1 โวลต์                                             2.  2 โวลต์

      3.  3 โวลต์                                             4.  4 โวลต์

เฉลยข้อสอบ

ข้อคำตอบข้อคำตอบข้อคำตอบข้อคำตอบข้อคำตอบ
1  22  23  44  45  2
6  47  48  39  310  1
11  212  313  414  415  2
16  411  418  219  220  4

เนื้อหา
ที่เกี่ยวข้อง