สรุปเนื้อหา เรื่อง การแบ่งโครงสร้างโลก วิชาโลกและดาราศาสตร์ ชั้น ม.4
ทางเคมี
1. เปลือกโลก (Crust) หนา 5 – 40 กม.
– มหาสมุทร (ชั้นไซมา) ประกอบด้วย Si (ซิลิกา) ,Mg (แมกนีเซียม) หนา 35-40 กม. หินบะซอลต์
– ทวีป (ชั้นไซอัล) ประกอบด้วย Si (ซิลิกา) , Al (อะลูมิเนียม) หนา 5 – 10 กม. หินแกรนิต
2. เนื้อโลก (Mantle) เป็นหินหลอมเหลว เรียกว่า แมกมา (หินหนืด)
– หนา 1000 – 2900 กม. ประกอบด้วย Si (ซิลิกา) ,Mg (แมกนีเซียม) , Fe (เหล็ก)
3. แก่นโลก (Core) มีความดันสูง ประกอบด้วย Fe (เหล็ก) 80% ที่เหลือคือ Ni (นิกเกิล), O (ออกซิเจน), Si (ซิลิกา) , S (กำมะถัน)
– แก่นโลกชั้นนอก ( outer core ) เป็น แมกมา มีสถานะเป็นของเหลว ประกอบด้วย Fe (เหล็ก) ,Ni (นิกเกิล)
– แก่นโลกชั้นใน ( inner core ) ส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วย Fe (เหล็ก) ,Ni (นิกเกิล) ถูกอัดด้วยแรงดันสูง
ทางกายภาพ
1. ธรณีภาค สถานะ ของแข็ง (Solid) ลึก 100 กม. (เปลือกโลก + เนื้อโลก)
– P wave , S wave เคลื่อนผ่านด้วย v เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. ฐานธรณีภาค สถานะ ของแข็ง (Solid) ลึก 100 – 660 กม.
– เคลื่อนไหวสะเทือน เคลื่อนที่ผ่านด้วย v ไม่สม่ำเสมอ
– v ลดลง ในช่วงความลึก 100 – 400 กม.
– v เพิ่มขึ้นไม่สม่ำเสมอ ในช่วงความลึก 400 – 600
3. มีโทสเฟียร์ สถานะ ของแข็ง (Solid) ลึก 660 – 2900 กม.
– เคลื่อนไหวสะเทือน v เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ
4. แก่นโลกชั้นนอก สถานะ ของเหลว (Liquid) ลึก 2900 – 5140 กม.
– P wave v จะเพิ่มขึ้นช้า จากนั้นจะเคลื่อนที่เร็ว ทำให้ S wave เคลื่อนผ่านไม่ได้
5. แก่นโลกชั้นใน สถานะ ของแข็ง (Solid) ลึก 5140 กม. ถึงจุดศูนย์กลางของโลก
– P wave และ S wave มี v คงที่
หมายเหตุ
* P wave คือ คลื่นปฐมภูมิ ผ่านได้ทุกสถานะ ทำให้เกิดการขยาย
* S wave คือ คลื่นทุติยภูมิ ผ่านได้แค่สถานะของแข็ง (Solid) ทำให้เกิดชั้นหินโค้ง
* v คือ อัตราเร็ว