สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ป.6

วันที่โพสต์

หมวดหมู่

สรุปเนื้อหา เรื่อง เศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ป.6

เศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการที่มีไม่จำกัดของมนุษย์

ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่นำมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มี 2 ประเภท ได้แก่

1. ทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง ประชากร และคุณภาพของประชากร

2. ทรัพยากรที่ไม่ใช่มนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

– ทรัพยากรการผลิตที่มนุษย์สร้างขึ้น

– ทรัพยากรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ผู้ผลิตและผู้บริโภค

ผู้ผลิตผู้บริโภค
ผู้ที่นำทรัพยากรมาผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคผู้ที่ได้รับสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิต

ปัจจัยการผลิต คือ องค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ แบ่งเป็น 4 ประเภท

1. แรงงาน ผู้ที่ใช้กำลังกายและสติปัญญาในการผลิตสินค้าและบริการ ได้รับผลตอบแทนคือ ค่าจ้าง
2. ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้าย มีอยู่จำกัด ผลตอบแทนคือ ค่าเช่า
3. ทุนสิ่งที่มนุษย์นำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการ อำนวยความสะดวกในการผลิต ผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย
4. ผู้ประกอบการผู้ที่นำแรงงาน ที่ดิน และทุน มาผลิตสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลิต เพราะเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นผู้รวบรวมปัจจัยอื่นๆ ในการผลิต หากไม่มีผู้ประกอบการ จะไม่เกิดการผลิตขึ้น ผลตอบแทนคือ กำไร

ปัญหาการผลิต

1. ผลิตอะไร (What) ผลิตอะไรเพื่อตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

2. ผลิตให้ใคร (For Whom) ผู้บริโภคคือคนกลุ่มใด

3. ผลิตอย่างไร (How) ผลิตอย่างไรจึงคุ้มค่า ก่อให้เกิดกำไรมากที่สุด

หน่วยเศรษฐกิจ

1. หน่วยครัวเรือนผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ทำหน้าที่ให้ปัจจัยการผลิต และการบริโภค
2. หน่วยธุรกิจกลุ่มบุคคลที่นำปัจจัยการผลิตไปผลิตตามความต้องการของหน่วยบริโภค
3. หน่วยรัฐบาลหน่วยงานภาครัฐ คอยควบคุมดูและหน่วยครัวเรือน และหน่วยธุรกิจ จัดสรรทรัพยากร และกระจายสินค้า

สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการทำธุรกรรมทางการเงิน คอยระดมเงิน เช่น รับฝากเงินแก่ผู้ที่ต้องการออมเงิน แล้วทำเงินนั้นมาให้กู้ยืมเงินแก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ออมเงินและคิดดอกเบี้ยจากผู้ที่กู้ยืมเงิน

สถาบันการเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทธนาคาร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารพาณิชย์
– มีหน้าที่ดูและระบบการเงินของธนาคารทั้งหมด
– ไม่แสวงหากำไร
– ผลิตธนบัตร (เงินแบงค์)
– กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินของประเทศ
– ควบคุมการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงิน
– เป็นสถาบันการเงินของเอกชน
– มีหน้าที่
1. รับฝากเงิน
2. ให้กู้ยืม
3. โอนเงิน
4. เรียกเก็บเงิน

2. ประเภทที่ไม่ใช่ธนาคาร ได้แก่ บริษัทเงินทุน กองทุนรวม สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์

บริษัทเงินทุน ระดมเงินออมจากประชาชน แต่อาจจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารเพื่อจูงใจ จากนั้นนำเงินไปให้กู้ยืม และลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
กองทุนรวมระดมเงินโดยการจำหน่ายหน่วยลงทุนให้ประชาชน แล้วจะนำเงินไปซื้อหลักทรัพย์
สหกรณ์การเกษตรจัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืม ส่งเสริมการออม ช่วยเหลือสมาชิกด้านการเกษตร
สหกรณ์ออมทรัพย์ รับฝากเงินจากสมาชิก และให้สมาชิกกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย แล้วกำไรมาแบ่งให้สมาชิกตามมูลค่าหุ้น

ระบบเศรษฐกิจ มี 3 ระบบ ได้แก่ ทุนนิยม สังคมนิยม และ แบบผสม

แบบทุนนิยม

– เอกชนเป็นเจ้าของการผลิต
– รัฐมีบทบาททางเศรษฐกิจน้อย
– มีอิสระในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ
– แข่งขันอย่างเสรี
– เอกชนมีอิสระในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร
– ราคาเป็นตัวกำหนดจำนวนผู้บริโภค

แบบสังคมนิยม

– รัฐควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
– รัฐเป็นผู้กำหนดว่าจะผลิตอะไร
– รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่

แบบผสม

– รัฐและเอกชนร่วมมือวางแผนการผลิต
– รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้
– รัฐแทรกแซงการกำหนดราคาได้
– มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูง สินค้าและบริการจึงมีคุณภาพ

การจัดเก็บภาษี ภาษีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ทางตรง – ผู้เสียภาษีมีหน้าที่เสียด้วยตนเอง เช่น ภาษีเงินได้

ทางอ้อม – เป็นภาษีที่รวมอยู่ในราคาสินค้าแล้ว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีมีดังนี้

1. กรมสรรพากรเก็บภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการค้า
2. กรมสรรพสามิตเก็บภาษี เหล้า บุหรี่
3. กรมศุลกากรเก็บภาษีนำเข้า ส่งออก
4. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเก็บภาษี ป้าย โรงเรือน ที่ดิน

เนื้อหา
ที่เกี่ยวข้อง