ข้อสอบ หลักและการใช้ภาษา (คำเชื่อม) ม.1

วันที่โพสต์

หมวดหมู่

ข้อสอบ วิชาภาษาไทย เนื้อหา หลักและการใช้ภาษา (เรื่อง คำเชื่อม) ม.1 จำนวน 26 ข้อ พร้อมเฉลย

1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคำสันธาน

ก. ใช้เชื่อมประโยคที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน

ข. ใช้เชื่อมประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน

ค. ใช้เชื่อมประโยคเพื่อให้มีสัมผัสคล้องจองกัน

ง. ใช้เชื่อมประโยคที่แสดงการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

2. “และ” กับ “แต่” ใช้เชื่อมประโยคที่มีเนื้อความอย่างไรตามลำดับ

ก. ขัดแย้งกัน – เป็นเหตุเป็นผลกัน

ข. เป็นเหตุเป็นผลกัน – ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ค. คล้อยตามกัน – ขัดแย้งกัน

ง. ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง – คล้อยตามกัน

3. “เพราะ…จึง” เป็นคำเชื่อมประโยคที่มีเนื้อความอย่างไร

ก. เป็นเหตุเป็นผลกัน

ข.ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ค. ขัดแย้งกัน

ง. คล้อยตามกัน

4. ข้อใดใช้คำเชื่อมไม่เหมาะสม

ก. พ่อกินเก่งแต่ไม่อ้วน

ข. ครูสอนสนุกแต่ใจดี

ค. พี่เรียนปริญญาโทและทำงานด้วย

ง. ขวัญชยันเรียนและชอบทำกิจกรรม

5. (ก) ดินหมั่นคุยกับคนต่างชาติ (ข) ดินอยากฝึกให้สำเนียงภาษาอังกฤษดีขึ้นประโยค (ก) กับ ประโยค (ข) ควรเชื่อมกันอย่างไร

ก. (ก) แต่ (ข)

ข. (ข) และ (ก)

ค. (ข) จึง (ก)

ง. (ก) ดังนั้น (ข)

ข้อความ (ก)-(ง) ใช้ตอบคำถามข้อ 6-7

(ก) โรงเรียนของเราน่าอยู่

(ข) คุณครูใจดีทุกคน

(ค) เด็กๆ ก็ไม่ชุกชน

(ง) เราทุกคนชอบไปโรงเรียน

(เพลงต้นขับขี่ ของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ)

6. หากต้องการเชื่อมประโยค (ก) กับ (ง) ตามลำดับ คำเชื่อมใดเหมาะสมที่สุด

ก. จึง

ข. แต่

ค. ซึ่ง

ง. เพื่อ

7. หากนำประโยค (ก), (ข) และ (ค) มาเรียงต่อกัน ควรใช้คำเชื่อมใดตามลำดับจึงทำให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์

ก. ก็ ถ้า

ข. จึง แต่

ค. เช่น แล้ว

ง. เพราะ และ

8. ข้อใดควรใช้คำเชื่อม “เพื่อ”

ก. ลุงกินข้าว – ดูโทรทัศน์

ข. น้องไม่ไปโรงเรียน – ไม่สบาย

ค. พื่อยากไปต่างประเทศ – ไม่มีเวลา

ง. ลูกทำงานพิเศษ – แบ่งเบาภาระของแม่

9. “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้” คำใดเป็นคำเชื่อม

ก. กว่า

ข. ก็

ค. กว่า…ก็

ง. กว่า..จะ

10. ข้อใดมีคำสันธานเชื่อมความชัดแย้งกัน

ก. แม่ไม่มารับจึงต้องกลับบ้านเอง

ข. พยานรู้ข้อเท็จจริงแต่ไม่ยอมพูด

ค. เขาคงให้อภัยถ้าเธอยอมขอโทษ

ง. พรุ่งนี้ฉันต้องตืนเช้าเพราะมีสัมภาษณ์งาน

11. คำว่า “ถึง” ในข้อใดเป็นคำสันธาน

ก. ถึงที่หมายหรือยัง

ข. ใกล้ถึงฤดูหนาวแล้ว

ค. ใครมาถึงบ้านแล้วบ้าง

ง. ถึงเป็นของแพงก็ไม่รับ

12. ชื่อเพลงต่อไปนี้ข้อใดไม่มีคำสันธาน

ก. ไม่ขอก็จะให้

ข. เมื่อเขามาฉันจะไป

ค. ถ้าไม่ฟังจะถามทำไม

ง. ความคิดถึงไม่เคยมีเหตุผล

13. ข้อใดมีคำสันธาน

ก. รู้หน้าแต่ไม่รู้ใจ

ข. เมื่อคืนฉันฝันถึงคุณยาย

ค. นักศึกษาเดินทางโดยรถไฟฟ้า

ง. ลูกน้องให้ของขวัญแก่หัวหน้า

14. คำว่า “เมื่อ” ในข้อใดเป็นคำสันธาน

ก. เมื่อไรเด็กหญิงพรทิพย์จะเข้าห้องเรียน

ข. เด็กหญิงสุดาไม่ได้มาโรงเรียนเมื่อวานนี้

ค. เด็กชายธีระทำการบ้านเสร็จเมื่อพ่อมารับ

ง. เมื่อสักครู่เด็กชายสมศักดิ์กินข้าวอยู่ที่โรงอาหาร

15. คำว่า “เพราะ” ในช้อใดไม่ใช่คำสันธาน

ก. เขาง่วงเพราะนอนไม่พอ

ข. เพราะฉันไม่รู้ฉันจึงทำผิด

ค. เพราะมากเลยเพลงที่เธอร้องประกวด

ง. น้ำท่วมเพราะฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

16. ประโยคในข้อใดใช้คำสันธานเชื่อมความให้เลือก

ก. ถ้าไม่ลืมฉันจะโทรหาคืนนี้

ข. ทุกคนมาแล้ว ทำไมเธอยังไม่มา

ค. ลูกตื่นสายจึงไปเข้าแถวเคารพธงชาติไม่ทัน

ง. ตอนนี้เขาอยู่ในกรุงเทพฯ หรือออกต่างจังหวัด

17. ประโยคในข้อใดใช้คำสันธานเชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน

ก. เดินไม่ระวังจึงสะดุดหกล้ม

ข. ฉันโกรธเขามากแต่ไม่กล้าโวยวาย

ค. ครูไม่ชอบคนเกียจคร้านและไม่ชื่อสัตย์

ง. กำลังตัดสินใจว่าจะทำงานหรือเรียนต่อ

18. “เขาติดคุก” กับ “เขาปล้นเงินจากธนาคาร” เมื่อเชื่อม 2 ประโยคนี้ด้วยคำสันธานจะได้เนื้อความ ลักษณะใด

ก. ขัดแย้งกัน

ข. คล้อยตามกัน

ค. เป็นเหตุเป็นผลกัน

ง. ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

19. ข้อใดมีคำสันธาน

ก. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว

ข. แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน

ค. หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว

ง. ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก

20. ข้อใดไม่มีคำสันธาน

ก. ฉันเก็บรักษาของขวัญของเธออย่างดี

ข. อยู่ช่วยพี่ทำงานหรือไม่ก็ไปนอนเฝ้าแม่

ค. พอครูออกจากห้องนักเรียนก็คุยเสียงดัง

ง. ร้านนี้อาหารอร่อยแต่พนักงานบริการไม่ดี

21. ข้อใดไม่มีคำเชื่อมแสดงความขัดแย้งกัน

ก. ฉันอยู่บ้านแต่เขาไม่อยู่

ข. เขาไม่ไปแต่ว่าฉันจะไป

ค. คนที่ฉันชอบก็มีแต่เขาคนเดียว

ง. ฉันชอบกินเนื้อสัตว์แต่เขากินมังสวิรัติ

22. ข้อใดไม่มีคำสันธานเชื่อมความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ก. ป.5 หรือ ป.6 ที่จะไปทัศนศึกษา

ข. คิดเองไม่ได้หรือโจทย์เลขง่ายๆ แค่นี้

ค. วันเกิดปีนี้อยากได้กระเป๋าหรือรองเท้า 

ง. เธอรู้ความลับนี้จากเขาหรือเพื่อนของเขา

23. ข้อใดไม่มีคำสันธานเชื่อมความคล้อยตามกัน

ก. ขอกับเยอะๆ ข้าวครึ่งจานก็พอ

ข. ฉันตั้งใจซื้อของมาฝากเธอกับลูก

ค. แม่กับลูกอ่านหนังสืออยู่หน้าบ้าน

ง. แฝดพี่กับแฝดน้องอยากได้ของเล่นชิ้นใหม่

24. หากใส่คำเชื่อมให้สอดคล้องกับความหมายของสำนวนต่อไปนี้ ข้อใดใช้คำเชื่อมต่างกับข้ออื่น

ก. หน้าไหว้หลังหลอก

ข. หนักไม่เอา เบาไม่สู้

ค. มือถือสาก ปากถือศีล

ง. ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด

25. “มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว” หากต้องใส่คำเชื่อมให้สอดคล้องกับสำนวนนี้ ควรใช้คำเชื่อมอะไร

ก. แต่

ข. เพื่อ

ค. และ

ง. เพราะ…จึง

26. ข้อใดเติมคำเชื่อม “จึง” แล้วสอดคล้องกับความหมายของสำนวน

ก. ได้ที่ขี่แพะไล่

ข. เกลียดตัวกินไข่

ค. พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก

ง. ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก

เฉลยคำตอบ

ข้อคำตอบข้อคำตอบข้อคำตอบ
11019
21120
31221
41322
51423
61524
71625
81726
918