1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับโคลงโลกนิติ
ก. แต่งด้วยโคลงดั้น
ข. มีที่มาจากคัมภีร์ของเขมร
ค. เป็นวรรณคดีเพื่อการแสดง
ง. รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระโคลงนิติ
2. “โลกนิติ” หรือ “โลกนีติ” แปลว่าอะไร
ก. กำเนิดของโลก
ข. บทลงโทษของชาวโลก
ค. กฎหมายที่สังคมกำหนดใช้ร่วมกัน
ง. แนวทางในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
3. ข้อใด ไม่ใช่ ผลงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
ก. โคลงภาพต่างภาษา
ข. โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
ค. โคลงนิราศเสด็จไปทัพเวียงจันทน์
ง. ฉันท์ดุษฎีสังเวยพระพุทธบุษยรัตน์
4. โคลงโลกนิติจารึกไว้ที่วัดใด
ก. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ข. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
ค. วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
ง. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
5. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อบังคับฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ
ก. บังคับสัมผัสใน
ข. บังคับสัมผัสนอก
ค. บังคับวรรณยุกต์เอกและโท
ง. บังคับจำนวนคำในแต่ละวรรค
6. “เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง
เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง- เกตว่าง เว้นนา
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ ปราชญ์ได้ฤามี”
โคลงข้างต้นสอดคล้องกับข้อใด
ก. ปากเป็นเอก เลขเป็นโท
ข. หัวใจนักปราชญ์ “สุ.จิ. ปุ. ลิ”
ค. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ง. ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
7. “รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำลึกเหลือ”
โคลงข้างต้นมีความหมายตรงกับข้อใด
ก. กบกินเดือน
ข. กบเลือกนาย
ค. กบเกิดใต้บัวบาน
ง. กบในกะลาครอบ
8. “พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง”
โคลงข้างต้นกล่าวว่าสิ่งใดคาดคะเนได้ยากที่สุด
ก. มหาสมุทร
ข. ภูเขาสูงชัน
ค. จิตใจมนุษย์
ง. ความแปรปรวนของธรรมชาติ
9. “เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม ใจตาม
เรายากหากใจงาม อย่าคร้าน
อุตส่าห์พยายาม การกิจ
เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน อย่าท้อทำกิน”
ข้อใด ไม่ สอดคล้องกับสิ่งที่เสนอไว้ในโคลงข้างต้น
ก. หนักเอาเบาสู้
ข. ความพอเพียง
ค. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
ง. อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย
10. “ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้”
โคลงข้างต้นมีความหมายใกล้เคียงกับโคลงบทใด
ก. โคควายวายชีพได้ เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้
คนเด็ดดับสูญสัง- ขารร่าง
เป็นซื่อเป็นเสียงได้ แต่ร้ายกับดี
ข. สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขร้ำ
บาปเกิดแต่ตนคน เป็นบาป
บาปย่อมทำโทษซ้ำ ใส่ผู้บาปเอง
ค. ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน ชาดบ้าย
ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
ดุจดั่งคนใจร้าย นอกนั้นดูงาม
ง. ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้ทัน คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา
11. “คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา
คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง
คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร”
โคลงข้างต้นสอนคติธรรมเรื่องอะไร
ก. ความกตัญญูกตเวที
ข. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ค. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ง. การรับฟังความเห็นของผู้อื่น
12. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับโคลงในข้อ 11
ก. มีการหลากคำ
ข. เป็นโคลงกระทู้
ค. มีการใช้คำโทโทษ
ง. เด่นที่การใช้อุปมา