ตัวอย่างข้อสอบ เรื่อง สุภาษิตพระร่วง ม.1

วันที่โพสต์

หมวดหมู่

ข้อสอบ เรื่อง สุภาษิตพระร่วง

อ่านสรุปเนื้อหาเรื่อง สุภาษิตพระร่วง

1. นอกจากสุภาษิตพระร่วงที่วัดพระเชตุพนฯ แล้ว ยังมีสุภาษิตพระร่วงอีกหลายสำนวน ข้อใด ไม่ใช่ สำนวนหนึ่งของสุภาษิตพระร่วง

          ก. ร่ายสุภาสิทตัง

          ข. สุภาษิตสอนหญิง

          ค. กาพย์สุภาษิตพระร่วง

          ง. โคลงประดิษฐ์พระร่วง

2. ข้อใดกล่าว ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องสุภาษิตพระร่วง

          ก. สุภาษิตพระร่วงมีอีกชื่อหนึ่งว่าไตรภูมิพระร่วง

          ข. สุภาษิตพระร่วงสำนวนที่ใช้เรียน แต่งด้วยร่ายสุภาพและกาพย์ยานี 11

          ค. รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องสุภาษิตพระร่วงบนแผ่นศิลา ประดับไว้ในวัดพระเชตุพนฯ

          ง. สุภาษิตพระร่วงสำนวนที่ใช้เรียน ได้รับการชำระโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

3. ข้อใด ไม่ได้ สอนเกี่ยวกับการใช้คำพูด

          ก. อย่ามีปากว่าคน

          ข. ยอครูยอต่อหน้า

          ค. โต้ตอบอย่าเสียคำ

          ง. อย่าโดยคำคนพลอด

4. “อย่ารักห่างกว่าชิด” สอนเรื่องใด

          ก. การอยู่ห่างคนพาล

          ข. การระมัดระวังคนใกล้ตัว

          ค. การให้ความสำคัญกับญาติ

          ง. การรักตัวเองมากกว่ารักคนอื่น

5. ทุกข้อมุ่งสอนข้าราชการโดยเฉพาะ ยกเว้น ข้อใด

          ก. อาสาเจ้าจนตัวตาย

          ข. เฝ้าท้าวไทอย่าทะนง

          ค. เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ

          ง. ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน

6. “อย่าปลุกผีกลางคลอง” หมายความว่าอย่างไร

          ก. อย่ายุ่งเกี่ยวกับคนไม่ดี

          ข. อย่าประมาทในการใช้ชีวิต

          ค. อย่าลบหลู่สิ่งเหนือธรรมชาติ

          ง. อย่ารื้อฟื้นเรื่องที่สิ้นสุดหรือยุติไปแล้ว

7. “คนขำอย่าร่วมรัก” หมายความว่าอย่างไร

          ก. ให้รู้จักกาลเทศะ

          ข. อย่าชิงสุกก่อนห่าม

          ค. ให้รู้จักรักเดียวใจเดียว

          ง. อย่าสนิทกับคนที่มีลับลมคมใน

8. คำสอนข้อใด ต่าง จากพวก

          ก. มีสินอย่าอวดมั่ง

          ข. ที่สุ้มเสือจงประหยัด

          ค. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า

          ง. เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว

9. ข้อใด ไม่ใช่ คำสอนเรื่องการคบคน

          ก. ปลูกไมตรีทั่วชน

          ข. อย่าผูกมิตรคนจร

          ค. ตนเป็นไทอย่าคบทาส

          ง. คนพาลอย่าพาลผิด อย่าผูกมิตรไมตรี

10. “อย่าเลียนครูเตือนด่า” หมายความว่าอย่างไร

          ก. อย่าล้อเลียนเมื่อครูตักเตือน

          ข. อย่าเรียนวิชากับครูที่ชอบดุด่า

          ค. ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังเวลาครูดุด่า

          ง. อย่าเลียนแบบตัวอย่างที่ไม่ดีของครู

11. “อย่าได้รับของเข็ญ” คำว่า “ของเข็ญ” หมายถึงอะไร

          ก. ของที่ได้มาอย่างยากลำบาก

          ข. ของที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น

          ค. ของที่นำความเดือดร้อนมาให้

          ง. ของที่เคยสูญหายไปแล้วได้กลับคืนมา

12. ข้อใดกล่าวถูกต้อง

          ก. อย่าพาผิดด้วยหู หมายถึง อย่าพูดให้คนอื่นเข้าใจผิด

          ข. อย่าตีสุนัขห้ามเห่า หมายถึง อย่าทำร้ายผู้ไม่มีทางสู้

          ค. ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ หมายถึง ให้ยอมรับเฉพาะความดีความชอบและป้ายความผิดให้ผู้อื่น

          ง. อย่าใช้คนบังบด หมายถึง อย่าใช้คนที่มีลับลมคมใน หรือชอบทำอะไรปิดบัง

13. ข้อใด ไม่ สอดคล้องกับหลักธรรมเรื่องทิศ 6

          ก. ที่รักอย่าดูถูก

          ข. คนโหดให้เอ็นดู

          ค. อย่าชังครูชังมิตร

          ง. ช้าคนไพร่อย่าไฟฟุน

14. “อย่ายลเยี่ยง…..แตกมิติด      จงยลเยี่ยง….แตกมิเสีย” ควรเติมคำใดในช่องว่าง

          ก. ทราย – หิน

          ข. แก้ว – เหล็ก

          ค. ถ้วย – สัมฤทธิ์

          ง. กระเบื้อง – ทอง

15. ข้อใดมีความหมาย ไม่ สอดคล้องกัน

          ก. อย่าตีงูให้แก่กา – ตีปลา

          ข. ชิดชอบมักจางจาก – ลิ้นกับฟัน

          ค. ได้ส่วนอย่ามักมาก – ได้คืบอย่าเอาศอก

          ง. ท่านสอนอย่าสอนตอบ – อย่าเพียงคำไม่ตกฟาก

16. ในยุคที่ค่าครองชีพสูงควรยึดถือสุภาษิตพระร่วงบทใด

          ก. หว่านพืชหวังผล

          ข. ของแพงอย่ามักกิน

          ค. รักตนกว่ารักทรัพย์

          ง. ความแหนให้ประหยัด

17. ข้อใดไม่ได้แสดงให้เห็นการให้ความสำคัญกับครอบครัวและเครือญาติ

          ก. ที่ทับจงมีไฟ

          ข. พึงผันเผื่อต่อญาติ

          ค. อย่ารักห่างชิด

          ง. ตระกูลตนจงคำนับ

18. คำสอนในสุภาษิตพระร่วงสะท้อนค่านิยมหลายประการของคนไทย ยกเว้น ข้อใด

          ก. ยกย่องผู้มีความรู้

          ข. ผู้น้อยต้องเคารพผู้ใหญ่

          ค. รักอิสระ ทำอะไรตามใจก็ได้

          ง. ให้ความสำคัญกับญาติพี่น้อง

19. ข้อใดมีเสียงสัมผัสสระ

          ก. อย่าตีปลาหน้าไซ

          ข. พรรคพวกพึงทำนุก

          ค. ช้างไล่แล่นเสียงหลบ

          ง. อย่ากริ้วโกรธเนืองนิตย์

20. ข้อใดไม่มีความเปรียบ

          ก. อย่ารักเหากว่าผม

          ข. หิ่งห้อยอย่าแข่งไฟ

          ค. คนขุนนางอย่าโหด

          ง. สุวานขบอย่าขบตอบ

21. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของเรื่องสุภาษิตพระร่วง

          ก. เด่นที่อลังการทางภาษา

          ข. ใช้คำน้อยแต่กินความมาก

          ค. เด่นที่การใช้ภาพพจน์หลากหลายชนิด

          ง. เน้นใช้คำศัพท์ยากเพื่อสร้างความหมายลึกซึ้ง

22. “พบศัตรูปากปราศรัย          ความในอย่าไขเขา” หมายความว่าอย่างไร

          ก. รู้จักพูดจาดีแม้แต่กับศัตรู

          ข. อย่าไปล้วงความลับของศัตรู

          ค. ระวังอย่าบอกความลับแก่ศัตรู

          ง. อยากรู้ความลับใครก็ให้ไปตีสนิทด้วย

23. ข้อใดเป็นคำสอนให้ปฏิบัติ

          ก. อย่ายินคำคนโลภ

          ข. สร้างกุศลอย่ารู้โรย

          ค. ครูบาสอนอย่าโกรธ

          ง. อย่ามัวเมาเนืองนิตย์

24. “ช้าเก่าร้ายอดเอา” หมายความว่าอย่างไร

          ก. อย่าเลี้ยงดูบริวารที่ชั่วร้าย

          ข. อย่าถือโทษโกรธบริวารเก่าที่ทำผิด

          ค. บริวารที่ไม่ภักดีแล้วไม่ควรรั้งเอาไว้

          ง. บริวารไม่ดีจะนำพาไปสู่ความทุกข์ยาก