ข้อสอบ กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
1. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
ก. มีเนื้อเรื่องเป็นนิทาน
ข. เคยใช้เป็นหนังสือเรียนในสมัยรัชกาลที่ 3
ค. พระยาศรีสุนทรโวหารนำมารวมไว้ในหนังสือมูลบทบรรพกิจ
ง. เป็นหนังสือสำหรับหัดอ่าน และเขียนเกี่ยวกับการใช้วรรณยุกต์
2. สุนทรภู่แต่งกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาด้วยจุดประสงค์ข้อใด
ก. เพื่อใช้เล่านิทาน
ข. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์
ค. เพื่อใช้เป็นบทละครสำหรับการแสดง
ง. เพื่อใช้เป็นหนังสือสำหรับหัดอ่านเขียน
3. คำประพันธ์ในข้อใดบอกจุดประสงค์ของการแต่งกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาได้ชัดเจนที่สุด
ก. เดชะพระมหาการุญ ใครเห็นเป็นคุณ
แบ่งบุญให้เราเจ้าเอย
ข. สะธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
พ่อแม่และครูบา เทวดาในราศี
ค. ภูมราการุญสุนทร ไว้หวังสังสอน
เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน
ง. ข้าเจ้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กามี
แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา
จะร่ำคำต่อไป พอล่อใจกุมารา
ธรณีมีราชา เจ้าพาราสาวะถี
4. กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ไม่ได้ แต่งด้วยกาพย์ประเภทใด
ก. กาพย์ยานี 11
ข. กาพย์ฉบัง 16
ค. กาพย์สุรางคนางค์ 28
ง. กาพย์สุรางคนางค์ 32
5. กาพย์เรื่องพระไชยสุริยาเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครูซึ่งประกอบด้วยคำในมาตราตัวสะกดใด
ก. แม่ ก กา
ข. แม่กก
ค. แม่กด
ง. แม่กบ
6. ข้อใดกล่าวถึงพฤติกรรมทุจริตรับสินบนของข้าราชการ
ก. อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีดี ทำมโหรีที่เคหา
ข. คดีที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา
ใครเอาข้าวปลามา ให้สุภาก็ว่าดี
ค. พาราสาวะถี ใครไม่มีปรานีใคร
ดุดื้อถือแต่ใจ ที่ใครได้ใส่เอาพอ
ง. ข้าเฝ้าเหล่าเสนา หนีไปหาพาราไกล
ชีบาล่าลี้ไป ไม่มีใครในธานี
7. ข้อใด ไม่ใช่ กาลกิณี 4 ประการ
ก. ความโลภ
ข. การไม่รู้คุณ
ค. ความประมาท
ง. การเห็นผิดเป็นชอบ
8. ข้อใด ไม่ได้ กล่าวถึงกาลกิณี 4 ประการ
ก. ผีป่ามากระทำ มรณกรรมชามบุรี
น้ำป่าเข้าธานี ก็ไม่มีที่อาศัย
ข. ลูกศิษย์คิดล้างครู ลูกไม่รู้คุณพ่อมัน
ส่อเสียดเบียดเบียนกัน ลอบฆ่าฟันคือตัณหา
ค. โลภลาภบาปบคิด โจทย์จับผิดริษยา
อุระพสุธา ป่วนเป็นบ้าฟ้าบดบัง
ง. ประกอบชอบเป็นผิด กลับจริตผิดโบราณ
สามัญอันธพาล ผลาญคนซื่อถือสัตย์ธรรม์
9. “เบียดเบียนเสียดส่อฉ้อฉล บาปกรรมนำตน
ไปทนทุกข์นับกัปกัลป์
เมตตากรุณาสามัญ จะได้ไปสวรรค์
เป็นสุขทุกวันหรรษา
คำประพันธ์ข้างต้น ไม่ สอดคล้องกับข้อใด
ก. กฎแห่งกรรม
ข. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ค. จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย
ง. หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น
10. “เพื่อนทุกข์สุขโศกเศร้า จะรักเจ้าเฝ้าสงวน
มิ่งขวัญอย่ารัญจวน นวลพักตร์น้องจะหมองศรี
คำประพันธ์ข้างต้นสอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. รักพี่เสียดายน้อง
ข. ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง
ค. เพื่อนกินหาง่าย เพื่อตายหายาก
ง. การร่วมทุกข์ร่วมสุขของสามีภรรยา
11. ข้อใด ไม่ใช่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากพระไชยสุริยาและพระมเหสีได้ฟังเทศนาธรรมจากฤาษี
ก. ราชานารีร่ำไร มีกรรมจำใจ
จำไปพอปะพสุธา
ข. สององค์ทรงหนังพยัคฆา จัดจีบกลับชฎา
รักษาศีลถือฤาษี
ค. เห็นภัยในขันธสันดาน ตัดห่วงบ่วงมาร
สำราญสพเร็จเมตตา
ง. ค่ำเช้าเอากราดกวาดเตียน เหนื่อยยากพากเพียร
เรียนธรรมบำเพ็ญเคร่งครัน
12. ข้อใด ไม่มี ภาพพจน์ประเภทอุปมา
ก. ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง คางแข็งแรงเริง
ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง
ข. ว่ามีพญาสกุณา ใหญ่โตมโหฬาร์
กายาเท่าเขาคีรี
ค. กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
ง. ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสดาลขานเสียง
13. ข้อใดกล่าวถึงชื่อสัตว์มากชนิดที่สุด
ก. กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
ข. กะลิงกระลางนางนวลนอนเรียง พญาลอคลอเคียง
แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
ค. ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสดาลขานเสียง
ง. ขึ้นกดบทอัศจรรย์ เสียงครื้นครั่นชั้นเขาหลวง
นกหกแตกรังรวง สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนโงง
14. “วันนั้นจันทร มีดารากร เป็นบริวาร
เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาคลีคลี่บาน ใบก้านอรชร
เย็นฉ่ำน้ำฟ้า ชื่นชะผกา วายุพาขจร
สารพัดจันทร์อิน รื่นกลิ่นเกสร แตนต่อคลอร่อน ว้อว่อนเวียนระวัน”
คำประพันธ์ข้างต้นมีความดีเด่นอย่างไร
ก. การให้คติธรรม
ข. การสร้างจินตภาพ
ค. การใช้สัทพจน์
ง. การเล่นเสียงสัมผัสวรรณยุกต์
15. ข้อใดมีมาตราตัวสะกด น้อยกว่า ข้ออื่น
ก. สำเร็จเสด็จได้ไปสวรรค์ เสวยสุขทุกวัน
นานนับกัปกัลป์พุทธันดร
ข. เช้าค่ำทำกิจพิธี กองกูณฑ์อัคคี
เป็นที่บูชาถาวร
ค. ปถพีเป็นที่บรรจถรณ์ เอนองค์ลงนอน
เหนือขอนเขนยเกบเศียร
ง. ระวังตัวกลัวครูหนูเอ๋ย ไม้เรียวเจียวเหวย
กูเคยเข็ดหลาบขวาบเขวียว
16. ข้อใดใช้ภาพพจน์ประเภทสัทพจน์
ก. กระจับปี่สีซอท่อเสียง ขับรำจำเวียง
สำเนียงนางฟ้าน่าฟัง
ข. เปล่งเสียงเพียงพิณอินทรา บอกข้อมรณา
คงมาวันหนึ่งถึงตน
ค. ลูกนายกปีกป้อง อ้าปากร้องซ้องแซ่เสียง
แม่นกปกปีกเคียง เลี้ยงลูกอ่อนป้อนอาหาร
ง. พิณพาทย์ระนาดฆ้อง ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง
ระฆังดังวังเวง โหง่งหง่างเหง่งเก่งก่างดัง
17. ข้อใดสอดคล้องกับแนวคิดสำคัญของกาพย์เรื่องพระไชยสุริยามากที่สุด
ก. การออกบวชเป็นหนทางสู่ความหลุดพ้น
ข. ต้องกล้าต่อต้านข้าราชการประพฤติมิชอบ
ค. หากคนในสังคมขาดศีลธรรม บ้านเมืองจะล่มจม
ง. บ้านเมืองจะเจริญหรือล่มจมขึ้นอยู่กับเทพเจ้าเป็นผู้กำหนด
18. “ขึ้นเกยเลยกล่าวท้าวไท ฟังธรรมน้ำใจ
เลื่อมใสศรัทธากล้าหาญ
เห็นภัยในขันธ์สันดาร ตัดห่วงบ่วงมาร
สำราญสำเร็จเมตตา
สององค์ทรงหนังพยัคฆา จัดจีบกลีบชฎา
รักษาศีลถือฤาษี
คำประพันธ์ข้างต้นอยู่ในบทสอนอ่านช่วงท้ายของกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาแสดงถึงอัจฉริยภาพของผู้ประพันธ์อย่างไร
ก. การให้แง่คิดคติธรรมอันลุ่มลึก
ข. การใช้ภาพพจน์หลากหลายประเภท
ค. การสร้างจิตภาพให้กับผู้อ่านด้วยการใช้ภาษาง่าย
ง. การนำคำทุกมาตราตัวสะกดมารวมกันเพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมา
19. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะเด่นของกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
ก. สอนคติธรรม
ข. จัดลำดับเนื้อหาได้ดี
ค. ให้ความรู้เรื่องชื่อพันธุ์ไม้และสัตว์
ง. เป็นตัวอย่างงานเขียนร้อยแก้วที่ไพเราะ
20. “เป็นงานประพันธ์ที่ผู้อ่าน ‘ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว’ ก็เห็นจะไม่ผิด”
จากคำกล่าวถึงกาพย์เรื่องพระไชยสุริยาข้างต้น ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ประโยชน์ที่ได้ คือ ได้ความเพลิดเพลินจากเนื้อหานิทาน
ข. ประโยชน์ที่ได้ คือ ได้รู้สภาพสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ค. คำกล่าวนี้ หมายถึง อ่านวรรณคดี 1 เรื่อง แต่ได้ประโยชน์มากกว่า 1 ทาง
ง. ประโยชน์ที่ได้ คือ ได้ใช้เป็นบทฝึกอ่านฝึกเขียนภาษาไทยตามแบบโบราณ