ตัวอย่างข้อสอบเรื่อง นิทานพื้นบ้าน ม.1

วันที่โพสต์

หมวดหมู่

ตัวอย่างข้อสอบเรื่อง นิทานพื้นบ้าน ม.1

1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน

1. เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา

2. นิทานพื้นบ้านเป็นลิขสิทธิ์ของท้องถิ่น

3. นิทานพื้นบ้านบางเรื่องเล่าความเป็นมาของสถานที่

4. นิทานพื้นบ้านบางเรื่องแพร่หลายไปทุกภาคของประเทศไทย

2. ข้อใดจับคู่ผิด

1. เขาอกทะลุ – ภาคใต้            2. เกาะหนูเกาะแมว – ภาคใต้

3. พญากง พญาพาน – ภาคกลาง  4. เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว – ภาคกลาง

3. นิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับกำเนิดดาวลูกไก่ให้คติคำสอนเรื่องอะไร

1. ความกตัญญู                      2. ความไม่ประมาท

3. ความขยันหมั่นเพียร             4. ความประหยัดอดออม

4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน

1. ให้ข้อคิดคติในการดำเนินชีวิต

2. ให้ความสนุกสนานเพลินเพลิน

3. ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

4. ให้ความสำคัญแก่วีรบุรุษประจำถิ่นหรือประจำชาติ

5. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคำว่า “คำผี้หลี้”

1. เป็นชื่อของแมว                   2. พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตั้งชื่อนี้

3. ปรากฏในพื้นบ้านภาคเหนือ     4. มีความหมายว่าทองคำที่สวยงามน่ารัก

6. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “พญาคันคาก”

1. พญาคันคากรบแพ้เทวดา        2. เป็นนิทานภาคใต้

3. พญาคันคาก หมายถึง ควาย    4. สัมพันธ์ประเพณีจุดบั้งไฟขอฝน

7. “พญากงพญาพาน” เป็นนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับเรื่องอะไร

1. ตำนานจังหวัดสงขลา            2. ตำนานวัดพระแก้วมรกต

3. ตำนานการสร้างพระปฐมเจดี    4. ตำนานการสร้างวัดพระธาตุหริภุญชัย

8. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนิทานเรื่องตาม่องล่าย

1. ตาม่องล่ายและยายรำพึงกลายเป็นทะเล

2. เป็นนิทานอธิบายชื่อภูเขา เกาะ และแหลม

3. ลูกสาวตาม่องล่ายถูกฉีกกลายเป็นเกาะนมสาว

4. ตาม่องล่ายกับยายรำพึงทะเลาะกันเพราะตกลงกันไม่ได้ว่าจะยกลูกสาวให้ใคร

9. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

1. ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตาย

2. แปลจากนิทานโบราณจีน

3. ลิ้มกอเหนี่ยวสาปไม่ให้พี่ชายสร้างวัดสำเร็จ

4. ลิ้มกอเหนี่ยวเดินทางจากจีนมาตามหาพี่ชายที่สงขลา

10. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องสังข์ทอง

1. มีทั้งนิทานมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร

2. เรื่องสังข์ทองของชัยภูมิเป็นตำนานเมืองชัยภูมิ

3. สังข์ทองของจังหวัดอุตรดิตถ์อธิบายความเป็นมาของเมืองโบราณทุ่งยั้ง

4. ที่มาของเรื่องสังข์ทองในภูมิภาคต่างๆ คือบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2

11. ข้อใดคู่จับผิด

1. สังข์ทองคำกาพย์ – ภาคใต้

2. สังข์ทองกลอนสวด – ภาคใต้

3. ค่าวซอเรื่องสุวัณณะหอยสังข์ – ภาคเหนือ

4. ชาดกเรื่องสุวัณณะสังข์กุมาร – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

12. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของเรื่องสังข์ทอง

1. การชุบตัวในบ่อทอง

2. จบแบบโศกนาฏกรรม

3. พระเอกเกิดในหอยสังข์

4. มีของวิเศษ เช่น เกือกแก้ว รูปเงาะ

13. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับนิทานเรื่องก่ำกาดำ

1. พระเอกเกิดมามีผิวผุดผ่อง

2. สุดท้ายก่ำกาดำยังคงมีผิวดำอัปลักษณ์

3. เจ้าเมืองสั่งให้ก่ำกาดำสร้างสะพานเงินสะพานทอง

4. ก่ำกาดำหนีออกจากบ้านเพราะไม่อยากให้แม่ลำบาก

14. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่มีเนื้อหาคล้ายเรื่องสังข์ทอง

1. ลักษณะร่วมกัน คือ ชุบตัวในบ่อทอง

2. มีเรื่องที่ตัวละครเอกซ่อนตัวในร่างสัตว์และผลไม้ด้วย

3. ลักษณะร่วมกัน คือ การถอดรูปหรือออกจากที่ซ่อนของตัวละครเอก

4. รายละเอียดที่ต่างกันคือ ลักษณะของร่างหรือสิ่งที่ตัวละครเอกซ่อนอยู่

15. สังข์ทองเป็นเรื่องของตัวละครเอกที่มีรูปทองซ่อนอยู่ในร่างเงาะหรือร่างอัปลักษณ์ผิดแปลต่างๆ ลักษณะดังกล่าวนี้สื่อแง่คิดอย่างไร

1. ไม่ควรไว้วางใจใครง่ายๆ

2. อย่าตัดสินคนแค่รูปลักษณ์ภายนอก

3. คนอัปลักษณ์สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูดีขึ้นได้

4. ความอัปลักษณ์หรือผิดปกติของคนเกิดจากผลกรรมในอดีตชาติ

16. ข้อใดไม่ใช่ความสัมพันธ์ของนิทานเรื่องสังข์ทองกับสังคมวัฒนธรรมไทย

1. เป็นที่มาของสำนวนไทย                   2. เป็นที่มาของเรื่องเงาะป่า

3. ปรากฏเป็นจิตรกรรมฝาผนัง              4. ปรากฏในเพลงกล่อมเด็กของท้องถิ่น