1. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
ก. ฉันบังเอิญเจอเพื่อนเก่าแถวสะพานพระปิ่นเกล้า
ข. นางรำคนนั้นช่างอรชรอ้อนแอ้นน่ารักมาก
ค. หนังสือสามก๊กเรื่องนั้นฉันอ่านจบแล้ว
ง. วัฒนธรรมไทยควรได้รับการสืบทอดสู่ชนรุ่นหลัง
2. คำในข้อใดเกิดจากการกร่อนเสียงทุกคำ
ก. มะนาว สะใภ้ ตะขาบ
ข. สะดือ ลูกกะพรวน กระโจน
ค. ประทับ ตะเคียน ลูกกระดิ่ง
ง. ประชิด ตะวัน นกกะจาบ
3. ข้อใด ไม่ใช่ คำไทยแท้ทุกคำ
ก. พระบาท อรชร วิสูตร เมฆ
ข. ดิน น้ำ ลม ไฟ
ค. วิทยา บารมี บังเอิญ เนรมิต
ง. ดูกร เล็ก ผัด อย่างนี้
4. ข้อใดเป็นประโยคสำนวนภาษาต่างประเทศ
ก. เด็กคนนี้เหมือนแม่ของเขามาก
ข. คนไหนที่มาก่อนได้ก่อน
ค. ครูสั่งให้นักเรียนอ่านหนังสือ
ง. เขาพบว่าตัวเองอยู่ในห้องเพียงลำพัง
5. เพตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า “ภาษาไทยเป็นเสียงดนตรี”
ก. คำในภาษาไทยมีหลายเสียง
ข. คำคำเดียวออกเสียงได้หลายเสียง
ค. มีเครื่องหมายวรรณยุกต์แทนเสียงดนตรี
ง. ระดับเสียงสูงต่ำของคำ ทำให้ความหมายคำเปลี่ยนไป
6. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ทั้ง เอก โท ตรี
ก. บู๊เซ็กเทียน
ข. ซิยิ่นกุกุ้ย
ค. ชิเต้งชั่น
ง. ฮั่นเถ่งมุ้ย
7. คำว่า “แม่” มีองค์ประกอบพยางค์อะไรบ้าง
ก. พยัญชนะต้น สระ
ข. พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด
ค. พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์
ง. พยัญชนะต้น สระ ตัวการันต์
8. คำว่า อธิปไตย มีกี่พยางค์
ก. 3 พยางค์
ข. 4 พยางค์
ค. 5 พยางค์
ง. 6 พยางค์
9. จงแยกส่วนประกอบของคำว่า “ศุกร์”
ก. พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด ตัวการันต์
ข. พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์
ค. พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด
ง. พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์
10. ฉันไปชายทะเล ข้อความนี้มีกี่คำ กี่พยางค์
ก. 2 คำ 4 พยางค์
ข. 3 คำ 5 พยางค์
ค. 4 คำ 4 พยางค์
ง. 4 คำ 5 พยางค์
11. ข้อใดมีตัวสะกดมากที่สุด
ก. ส่องดูหน้าน้องเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน
ข. น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา
ค. อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย
ง. อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา
12. ข้อใดคำหน้ากร่อนลงไปเป็นเสียงสระ อะให้ประวิสรรชนีย์
ก. กระทำ กระโดด กระจุ๋มกระจิ๋ม
ข. บะหมี่ บะจ่าง บะช่อ
ค. มะเดหวี สะดาหมัน กะระดะ
ง. ตะเคียน ตะวัน ตะขาบ
13. คำในข้อใดเป็นคำอัพภาส
ก. ระริก ยะแย้ม วะวับ
ข. ตะพาน สะอื้น สะอาด
ค. ตระกูล ตระหนัก ตระหง่าน
ง. ธ ณฯ ฯพณฯ
14. ข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
ก. น้ำพริกปลาทู ผ้าพันคอ
ข. ชาวนา นิ่มนวล
ค. อัคคีภัย ธันวาคม
ง. ขายหน้า ผนวช
15. ข้อใดเป็นคำประสม 1 คำ คำสมาส 1 คำ
ก. ขนมปัง ไส้กรอก
ข. โหมโรง ปากหวาน
ค. เจาะข่าว อัคคีภัย
ง. ราชการ อุบัติเหตุ
16. ข้อใดไม่ใช่อ่านอย่างคำสมาส
ก. สามีภรรยา
ข. บุตรภรรยา
ค. บุญฤทธิ์
ง. วิพากษ์วิจารณ์
17. ข้อใดเป็นสระสนธิ
ก. หิมาลัย มหัศจรรย์
ข. อาณาจักร ทิวาวาร
ค. มโนกรรม รโหฐาน
ง. สมาบัติ สังขาร
18. ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด “อาหารจานี้อร่อย และมีประโยชน์สำหรับร่างกาย”
ก. ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความขัดแย้งกัน
ข. ประโยคทที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความคล้อยตามกัน
ค. ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน
ง. ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
19. ประโยคต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดใด “จะไปเรียนว่ายน้ำหรือไม่ก็เล่นดนตรีอยู่ที่บ้าน”
ก. ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความขัดแย้งกัน
ข.ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความคล้อยตามกัน
ค. ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน
ง. ประโยคที่เชื่อมด้วยคำสันธานหรือสันธานวลีแล้วมีใจความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
20. คำว่า “ขึ้น” ในประโยคใดหมายถึง นิยม นับถือ
ก. น้ำมันขึ้นราคาทุกวัน
ข. พระรูปนี้มีคนขึ้นมาก
ค. พระจันทร์ข้างขึ้นทอแสงนวลอร่ามตา
ง. หมอดูทำนายว่าปีนี้เขาดวงดีทำอะไรก็ขึ้น
21. ผู้แต่งมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี คือใคร
ก. เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ข. สำนักวัดถนน
ค. สำนักวัดสังข์กระจาย
ง. พระเทพโมลี (กลิ่น)
22. จุดมุ่งหมายในการแต่งพระเวสสันดรคืออะไร
ก. ใช้แสดงละครนอก
ข. ใช้แสดงละครใน
ค. ใช้ขับกล่อมประชาชน
ง. ใช้เทศน์ให้ประชาชนฟัง
23. ตอนใดไม่ได้อยู่ในมหาเวสสันดรชาดก
ก. นิทานเวตาล
ข. ชูชก
ค. กุมาร
ง. สักบรรพ
24. พระเวสสันดร “กัณฑ์มัทรี” เป็นกัณฑ์ที่เท่าไหร่ในมหาเวสสันดรชาดก
ก. 3
ข. 5
ค. 7
ง. 9
25. ฝนโบกขพรรษ มีลักษณะพิเศษดังนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. มีสีแดงดุจทับทิม
ข. ผู้ไม่ประสงค์ให้เปียกจะไม่เปียก
ค. ภาชนะไม่สามารถรองรับได้
ง. เมื่อตกลงพื้นจะกลายเป็นดอกพิกุลทองร่วงโรย
26. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ก. มีทั้งหมด 90 พระคาถา
ข. จุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อใช้เทศน์
ค. เพลงปี่พาทย์ที่ใช้ประกอบคือเพลงทยอยโอด
ง. เนื้อหาเป็นการอบรมสั่งสอนประชาชนทั่ว ๆ ไป
27. วรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่อง ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
ก. ยอดของความเรียง
ข. ยอดของร่ายยาว
ค. ยอดของร้อยแก้ว
ง. ยอดของบทสวด
28. ขณะที่พระนางมัทรีจะกลับจากป่านั้น เทวดาได้ลงมาขัดขวางและจแลงแปลงกายเป็นอะไร
ก. ราชสีห์ อาชาไนย เสือโคร่ง
ข. ราชสีห์ พญานาค คชสาร
ค. อาชาไนย โคนม เสือเหลือง
ง. เสือโคร่ง เสือเหลือง ราชสีห์
29. พระนางมัทรีทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าพระเวสสันดร ทรงยกสองกุมารให้แก่ชูชก
ก. ทรงโกรธพระเวสสันดรมาก
ข. ทรงเสียใจจนเสียสติ
ค. ทรงโกรธแค้นชูชก
ง. ทรงอนุโมทนาทาน
30. คุณลักษณะที่เด่นที่สุดของพระนางมัทรี
ก. จงรักภักดีต่อสามี เป็นแม่ที่ประเสริฐ
ข. ผลไม้ในป่าหายาก
ค. ปรนนิบัติสวามีด้วยความวิริยะอุตสาหะ
ง. ทรงบำเพ็ญทานสม่ำเสมอ
31. เหตุใดพระนางมัทรีจึงเสด็จกลับพระอาศรมในเวลามืดค่ำ
ก. หลงป่า
ข. ผลไม้ในป่าหายาก
ค. เทพเจ้าใจให้หลงลืม
ง. มีสัตว์ร้ายมาขวางทาง
32. รสทางวรรณคดีที่เด่นที่สุดในมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีคือข้อใด
ก. เสาวรจนี
ข. นารีปราโมทย์
ค. พิโรธวาทัง
ง. สัลลาปังคพิสัย
33. ข้อใดมีการเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ
ก. ก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร
ข. สะดุ้งพระทัยไหวหวาดวะหวีดวิ่งเข้าข้างทาง
ค. ทุกท้วงธารละหานเหินเหวหุบห้องคูหาวาส
ง. ถูกทุกข้อ
34. ข้อใดมีการใช้สัทพจน์
ก. แต่อย่างเหยียบเกรียบกรอบก็เหลี่ยวหลัง
ข. น้ำพระอัสสุชลนาเธอไหลนองคลองพระเนตร
ค. มัทรีนี้เป็นข้าแก่แต่ก่อนมาดั่งเงาตามบาทาก็เหมือนกัน
ง. ให้ลายเลื่อมเห็นเป็นรูปคนตะคุ่ม ๆ อยู่คล้าย ๆ แล้วหายไป
35. “ฝ่ายฝูงอมรเทเวสทุกวิมานมนเทียรทุกหมู่ไม้ ก็ยิ้มแย้มพระโอษฐ์ ตบพระหัตถ์อยู่ฉาดฉาน” ข้อความดังกล่าวเกิดขึ้นในตอนใด
ก. พระนางมัทรีทรงคร่ำตรวญถึงสองกุมาร
ข. พระนางมัทรีทรงสิ้นสติไปด้วยความโศกเศร้า
ค. พระนางมัทรีของอนุโมทนาการทำทานของพระเวสสันดร
ง. พระนางมัทรีทรงพบสัตว์ป่ามาขวางทางไว้
36. “โถ แม่มัทรีเพื่อยาก เจ้ามาตายลงในขณะลำบาก ที่เป็นเวลาไม่สมควรแล้วพี่จะทำอย่างไร” ข้อความนี้ใช้รสทางวรรณคดีใดในการแต่ง
ก. พิโรธวาทัง
ข. สัลลาปังคพิสัย
ค. เสาวรจนี
ง. นารีปราโมทย์
37. ให้เรียงลำดับเหตุการณ์ให้ถูกต้อง
1. ไม้ที่มีผลเป็นพุ่มพวงก็หลายเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร
2. แสรกคานบันดาลพลิกพลัดลงจากพระอังสา
3. ทั้งขอบฟ้าก็คาดแดงเป็นสายเลือดไม่เว้นวาย
4. ทั้งแปดทิศก็มืดมิดมัวมนทุกหนแห่ง
ก. 2 4 2 1
ข. 3 4 1 2
ค. 1 4 3 2
ง. 4 2 1 3
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 38 – 40
“(1) ทั้งจักจั่นพรรณลองไนเรไรร้องอยู่หริ่ง ๆ ระเรื่อยโรย
(2) โหยสำเนียงดั่งเสียงสังคีตขับ ประโคมไพร
(3) โอ เหตุไฉนเหงาเงียบเมื่อยามนี้”
38. ข้อความใดใช้ภาพพจน์อุปมา
ก. ข้อความที่ 1
ข. ข้อความที่ 2
ค. ข้อความที่ 4
ง. ไม่ปรากฏ
39. ข้อใดไม่ปรากฏในข้อความดังกล่าว
ก. อุปมา
ข. อุปลักษณ์
ค. ใช้คำซ้ำ
ง. เล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ
40. ข้อความดังกล่าวเด่นในด้านใด
ก. ให้ภาพที่มีเสียง
ข. ให้เห็นธรรมชาติที่งดงาม
ค. ให้อารมณ์โศกเศร้า
ง. ให้เห็นภาพเคลื่อนไหว