1. เหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาคลัง (หน) แปลและเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชใหม่
ก. สำนวนที่เคยมีคนแปลไว้ไม่ไพเราะ
ข. เป็นหนังสือดี จึงควรมีการแปลหลายๆฉบับ
ค. ต้องการให้เจ้าพระยาคลัง (หน) แสดงความสามารถ
ง. สำนวนที่เคยมีคนแปลไว้ไม่เหมือนกับที่พระองค์ทรงได้ฟังมา
2. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องราชาธิราช
ก. แต่งเป็นนิทานคำกลอน
ข. นำไปแสดงเป็นละครใน
ค. มีที่มาจากพงศาวดารเขมร
ง. เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไม่ได้แปลและเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชเพียงคนเดียว
3. เหตุใดพระเจ้ากรุงจีนจึงยกทัพมากรุงอังวะ
1. เพื่อขยายอาณาเขต
2. ต้องการแก้แค้นสมิงพระราม
3. ต้องการแก้แค้นพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
4. อยากทอดพระเนตรเห็นการทหารที่มีฝีมือรำทวนต่อสู้ตัวต่อตัวกับกามะนี
4. กามะนีทหารเอกของพระเจ้ากรุงจีนได้รับคำยกย่องว่า “ไม่ใช่มนุษย์ดุจเทวดาก็ว่าได้” เพราะอะไร
1. อิทธิฤทธิ์
2. คุณะรรมในสนามรบ
3. ความสงบนิ่งเยือกเย็น
4. ความสามารถในการต่อสู้
5. “ครั้นจะรับอาสาบัดนี้เล่าก็เหมือนหาบสองบ่าอาสาสองเจ้าหาควรไม่” แสดงว่าสมิงพระรามมีนิสัยอย่างไร
ก. ขี้ขลาด ไม่กล้าอาสาออกรบ
ข. ความจงรักภักดี มีนายได้แค่คนเดียว
ค. รู้จักประมาณตน ไม่ทำงานที่เกินกำลัง
ง. ความไม่ประมาท ไม่เอาตัวไปเสี่ยงอันตราย
6. คำว่า “สองเจ้า” ใช้ข้อความข้อ 5 หมายถึงใคร
ก. กามะนีกับพระเจ้ากรุงจีน
ข. พระเจ้าราชาธิราชกับพระเจ้ากรุงจีน
ค. พระเจ้ากรุงจีนกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ง. พระเจ้าราชาธิราชกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
7. เหตุใดในท้ายที่สุดสมิงพระรามจึงยอมรับอาสาสู้กับกามะนี
ก. เพราะเห็นแก่บุญคุณของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ข. เพราะอยากแสดงฝีมือให้พระเจ้ามังฆ้องเกรงกลัว
ค. เพราะพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องสัญญาว่าถ้ารบชนะจะปล่อยตัวสมิงพระราม
ง. เพราะเกรงว่าถ่ฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนได้รับชัยชนะแล้วจะเคลื่อนพลต่อไปยังกรุงหงสาวดี
8. ตอนที่สมิงพระรามทดลองฝึกม้าให้เชื่องด้วยการควบม้าออกไปนอกเมือง แล้วย้อนกลับมาที่กรุงอังวะ แสดงว่าสมิงพระรามมีลักษณะนิสัยอย่างไร
ก. ขี้ขลาด กลัวถูกประหารชีวิต
ข. ซื่อสัตย์ ไม่คิดฉวยโอกาสหนี
ค. โง่เขลา มองไม่เห็นโอกาสหนีเอาตัวรอด
4. ฉลาด แสร้งทดลองใจพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
9. “ม้าเชลยศักดิ์” หมายถึงข้อใด
ก. ม้าที่มีลักษณะไม่ดี ไม่ควรใช้ออกรบ
ข. ม้าของชาวบ้าน หรือม้าที่ไม่ใช่ม้าหลว
ค. ม้าที่เป็นบรรณาการจากเมืองประเทศราช
ง. ม้าของผู้เป็นเชลย หรือในเรื่องหมายถึงม้าของสมิงพระราม
10. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างสมิงพระรามกับกามะนี
ก. สมิงพระรามสามารถรำตามกามะนีได้ทุกเพลง
ข. สมิงพระรามให้กามะนีรำเพลงทวนให้สิ้นฝีมือก่อน
ค. กามะนีรู้ทันเพลงทวนของสมิงพระรามจึงไม่รำตาม
ง. ท่วงท่าเพลงทวนของสมิงพระรามงามดั่งเทพยดากับพิทยาธร
11. ข้อใดคือลักษระของสมิงพระรามที่แสดงให้เห็นเด่นชัดในตอนต่อสู้กับกามะนี
ก. ความใจอ่อน
ข. ความเจ้าเล่ห์
ค. ความฉลาดหลักแหลม
ง. ความเกรงกลัวอันตราย
12. “เพลงโคมเวียน เพลงผ่าหมาก” หมายถึงข้อใด
ก. ชื่อรำของจีน
ข. ชื่อศิลปะการต่อสู้ของจีน
ค. ชื่อศิลปะการเสดงของพม่า
ง. ชื่อกระบวนท่ารำทวนในการต่อสู้
13. “อุปมาดังฝนตกห่าใหญ่ตกลงน้ำนองทั่วป่าไหลเชี่ยวมาเมื่อวสันฤดูนั้น หาสิ่งใดจะต้านทานมิได้” เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงสิ่งใด
ก. ทัพใหญ่ของพระเจ้ากรุงจีนที่ยกมากรุงอังวะ
ข. ความรู้สึกของกามะนีตอนต่อสู้กับสมิงพระราม
ค. บรรยากาศการต่อสู้ระหว่างสมิงพระรามกับก่มะนี
ง. ความดีใจของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเมื่อสมิงพระรามชนะ
14. ข้อใดเป็นข้อตกลงที่สมิงพระรามขอออกจากพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องก่อนจะยอมอยู่กับราชการที่เมืองพม่า
ก. ห้ามผู้ใดเรียกตนว่าเชลย
ข. ขอไม่ออกรบไม่ว่าศึกใดก็ตาม
ค. ขอไม่รับตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์
ง. ห้ามพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทำศึกกับหงสาวดีอีก
15. จากคำตอบข้อ 14 แสดงว่าสมิงพระรามมีอุปนิสัยอย่างไร
ก. ได้คืบเอาศอก
ข. รู้จักวิธีเอาตัวรอด
ค. รักเกียรติและศักดิ์ศรี
ง. เห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมือง
16. ใครเป็นต้นเหตุให้สมิงพระรามหนีกับกรุงหงสาวดี
ก. พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ข. พระเจ้าราชาธิราช
ค. พระธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ง. พระมเหศรีของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
17. “อุปมาดังนกเค้าถึงมีกำลังอยู่ก็จริงแต่ตกเข้าอยู่ในท่ามกลางฝูงกาเมื่อกลางวัน…” ข้อความข้างต้นเป็นคำพูดของใคร และ “นกเค้า” เป็นความเปรียบหมายถึงใคร
ก. เสนาบดีม, นกเค้า หมายถึง พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ข. สมิงพระราม, นกเค้า หมายถึง ตัวสมิงพระรามเอง
ค. พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง, นกเค้า หมายถึงธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ง. พระธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังห้อง, นกเค้า หมายถึง สมิงพระราม
18. “…ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้แก่เขาแล้ว จะกลับคำไปดังนั้นหาควรไม่…” ข้อความข้างต้นเป็นคำพูดของใคร และพูดในตอนใด
ก. สมิงพระราม – ตอนได้ยินคนเรียกว่าเชลย
ข. กามะนี – ตอนก่อนถูกสมิงพระรามฆ่าตาย
ค. พระเจ้ากรุงจีน – ตอนหลังจากสมิงพระรามชนะกามะนี
ง. พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง – ตอนรู้ว่าสมิงพระรามหนีกลับหงสาวดี
19. “อย่าว่าแต่สมบัติมนุษย์นี้เลย ถึงท่านเอาทิพสมบัติของสมเด็จอมรินทร์มายกให้เรา เราก็มิได้ปารถนา” คำพูดนี้หมายความว่าอย่างไร
ก. ไม่มีทรัพย์สินมีค่าใดที่จะทำให้พระเจ้ากรุงจีนยอมเสียคำพูด
ข. แม้พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจะเอสมบัติมาให้ พระเจ้ากรุงจีนก็ไม่ยกทัพกลับ
ค. สมบัติมากมายแค่ไหนก็ไม่สามารถรั้งให้สมิงพระรามอยู่รับราชการที่กรุงอังวะได้
ง. สมิงพระรามปฏิเสธไม่รับความความดีความชอบใดๆ ทั้งสิ้นจากการได้ชัยชนะเหนือกามะนี
20. “ทองนพคุณเล่าขีดลงหน้าศิลาก่อนจึงจะรู้ว่าดี สตรีรูปงามถ้าพร้อมด้วยลักษณะกิริยามารยาทต้องอย่างจึงควรนับว่างาม ถ้าจะให้รู้รสอร่อยได้สัมผัสถูกต้องก่อนจึงนับถือว่ามีโอชาอร่อย” ข้อคสามข้างต้นเป็นคำพูดของใคร ในตอนใด
ก. พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพูด ตอนยกพระธิดาให้สมิงพระราม
ข. พระธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพูด ตอนอภิเษกกับสมิงพระราม
ค. สมิงพระรามพูด ตอนทูลขอพระราชทานม้าจากพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
ง. ผู้คุมพูด ตอนคุยกับสมิงพระรามเรื่องพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องประกาศหาผู้อาสาออกรบ
21. “…นานไปเห็นองอาจแทนมังรายกะยอฉะวาได้” จากข้อความใครทำให้ฝรั่งมังฆ้องนึกถึงมังกะลายอ – ฉะวา และนึกถึงเพราะคุณลักษณะใด
ก. สมิงพระราม – ความเก่งกาจในการรบ
ข. ลูกของสมิงพระราม – ความกล้าหาญ ถือดี
ค. กามะนี – คสามสามารถในการขี่ม้าแทงทวน
ง. ราชาธิราช – ความเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่
22. “อุปมาดังหงส์ตกลงในฝูงกา ราชสีห์เข้าปนกับหมู่เสือ”เป็นความเปรียบสื่อความถึงเรื่องใด
ก. ตกอยู่ในวงล้อมของสัตรู
ข. การอาศัยอยู่ต่างบ้านต่างเมือง
ค. การแต่งงานกับผู้ที่มีฐานันดรต่ำกว่า
ง. การอยู่ในบ้านเมืองที่มีคนอุปถัมภ์
23. ข้อใดไม่ใช่ข้อคิดที่ได้จากเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา
ก. การเป็นผู้ปกครองต้องรักษาคำพูด
ข. ความจงรักพักดีแก่บ้านเมือง
ค. การใช้กลอุบายเพื่อแย่งชิงดินแดน
ง. ความถือศักดิ์ศรียิ่งกว่ายศถาบรรดาศักดิ์