คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ความสำคัญของแพทย์ จะอุปมาโดยการเรียกว่า “กายนคร” หรือ ร่างกายที่เปรียบเหมือนนคร
– ร่างกาย = เมือง
– หัวใจ = พระราชา
– แพทย์ = ทหาร
– น้ำดี = วังหน้า (ภูมิคุ้มกัน)
– อาหาร = กองเสบียง
ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ผู้รวบรวม : ร.5
ส่งมอบให้: กรมพระอาลักษณ์ ด้วยเส้นหรดาล (สีเหลือง)
(1) ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัย ตำราแพทย์หลวง “ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์” ได้ 3 เล่ม
(2) จัดตั้งโรงเรียนเวชสโมสร วารสารรายเดือน “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” เน้นวิธีการรักษาตามแบบฝรั่ง ได้ 4 ฉบับ
ทั้ง 2 มีปัญหาเดียวกันคือ ขาดเงินทุน
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
– รวบรวมความรู้หลากหลาย จากตำราเรื่องอื่นๆ
– เริ่มด้วยบทไหว้ครู –> ความสำคัญของแพทย์ -> คุณสมบัติของแพทย์ -> วิธีสังเกตอาการไข้ -> ยารักษา -> ฯลฯ
สิ่งที่เน้นมาก คือ คุณสมบัติของแพทย์ โดยเฉพาะ 1. ความรู้ทางวิชาการ 2. ความรู้ทางธรรม – รักษาศีลแปด, ศีลห้า ยึดไตรรัตน์เป็นสรณะ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เผยแพร่ 14 คัมภีร์ โดยกล่าวถึง
– พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ = ครร์รักษา
– พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ = ความพิการของธาตุทั้ง 4
– พระคัมภีร์สรรพคุณ = สรรพคุณของสมุนไพร
– พระคัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย = การวินิจฉัยโรค
– พระคัมภีร์วรโยคสาร = องค์แห่งเทพ 30 ประการ
– พระคัมภีร์มหาโชตรัต = โรคสตรี
– พระคัมภีร์ชวดาร = โรคลม และ โรคเลือด
– พระคัมภีร์โรคนิทาน = เหตุและสมมติฐานของโรค
– พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ = โรคอุจจาระธาตุฯ
– พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา = โรคบุรุษสตรี
– พระคัมภีร์ตักกะศิลา = โรคระบาดอย่างร้ายแรง ไข้พิษทั้งปวง
– พระคัมภีร์ไกษย = โรคที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม
– คัมภีร์ฉันทศาสตร์ = จรรยาของแพทยทับ 8 ประการ โรคทราง สมุฎฐานไข้ อติสารมรนฐาณสูตร
คำศัพท์
กองวาตา = โรคลม
ครุกรรม = กรรมหนัก / บาปหนัก
คำโจทย์ = ข้อกล่าวหา
จำเนียร = รู้อย่างสืบทอดมา
บรรจุ = ประจุ/ยาที่ปรุงแล้ว
ปิตตํ = น้ำดี
พิสดาร = ละเอียดลออ
เพศไข้ = ชนิดของโรค
ภิยโย = มากยิ่งขึ้น
ยากวาด = ยากวาดลิ้น/คอ
ยาชอบ = ถูกกับยา
ยาผาย = ยาขับลม
ระยำ = อาการทรุดลง
ลาภา = ลาภ
สุศิวาไลย = ที่อันเกษมสุขยิ่ง
เสมหา = เสมหะ
หนทางทั้งสามแห่ง = หัวใจ น้ำดี อาหารบำรุงร่างกาย
เห็นโทษเข้าเป็นตรี = อาการไข้หนักมาก
อวดอาจ = อวดว่ารู้
อำเภอใจ = ตามแต่ใจตนเอง